วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Strategic Management and Business Policy‎ BUS 7017

ć
ดู ดาวน์โหลด 489 กิโลไบต์เวอร์ชัน 114 มิ.ย. 2553 19:59ไม่ทราบผู้ใช้Ċ
ดู ดาวน์โหลด 148 กิโลไบต์เวอร์ชัน 114 มิ.ย. 2553 19:58ไม่ทราบผู้ใช้Ċ
ดู ดาวน์โหลดGood Governance 174 กิโลไบต์เวอร์ชัน 220 พ.ค. 2553 00:41ไม่ทราบผู้ใช้ĉ
ดู ดาวน์โหลด 84 กิโลไบต์เวอร์ชัน 114 มิ.ย. 2553 19:58ไม่ทราบผู้ใช้Ĉ
ดู ดาวน์โหลด 22 กิโลไบต์เวอร์ชัน 15 ก.ค. 2553 22:11ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลด 4748 กิโลไบต์เวอร์ชัน 120 พ.ค. 2553 01:35ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลดsasi chapter 2  1832 กิโลไบต์เวอร์ชัน 33 มิ.ย. 2553 19:43ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลดการเขียน case study 489 กิโลไบต์เวอร์ชัน 110 มิ.ย. 2553 20:09ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลด 712 กิโลไบต์เวอร์ชัน 13 มิ.ย. 2553 19:40ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลดsasi chapter 1 3843 กิโลไบต์เวอร์ชัน 220 พ.ค. 2553 01:49ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลดsasi chapter 3 677 กิโลไบต์เวอร์ชัน 27 มิ.ย. 2553 20:24ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลดบทที่ 3 (slides รวมผู้สอน) 5511 กิโลไบต์เวอร์ชัน 124 มิ.ย. 2553 20:19ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลดchapter 3 3564 กิโลไบต์เวอร์ชัน 110 พ.ย. 2553 19:07ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลด 234 กิโลไบต์เวอร์ชัน 114 มิ.ย. 2553 19:57ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลด 266 กิโลไบต์เวอร์ชัน 114 มิ.ย. 2553 19:57ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลด 495 กิโลไบต์เวอร์ชัน 110 ก.ค. 2553 02:28ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลด 737 กิโลไบต์เวอร์ชัน 114 มิ.ย. 2553 19:58ไม่ทราบผู้ใช้ĉ
ดู ดาวน์โหลด 64 กิโลไบต์เวอร์ชัน 114 มิ.ย. 2553 19:58ไม่ทราบผู้ใช้ĉ
ดู ดาวน์โหลดinclass assignment1  26 กิโลไบต์เวอร์ชัน 220 พ.ค. 2553 21:56ไม่ทราบผู้ใช้ć
ดู ดาวน์โหลดsasi chapter 4 1978 กิโลไบต์เวอร์ชัน 27 มิ.ย. 2553 20:24ไม่ทราบผู้ใช้Ĉ
ดู ดาวน์โหลด 38 กิโลไบต์เวอร์ชัน 218 มิ.ย. 2553 00:45ไม่ทราบผู้ใช้

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing)

การผลิตแบบลีน เป็นการขจัดของเสีย ปรับปรุงคุณภาพ ลดต้นทุน 8 ด้าน ลดระยะเวลาในรอบการผลิตลง จัดเก็บสต็อกสินค้าน้อยลง แต่ทันเวลาพอดี (Just in time) เป็นการวางแผนที่ดีก่อนการผลิต
แปดด้านได้แก่

1.             1. Over production คือการผลิตที่มากเกิน เราต้องมาลดการผลิตที่มากเกินไปลง เนื่องจากการจัดเก็บสินค้า มีต้นทุนในการจัดเก็บ หรือ Inventory Cost เราจำเป็นต้องระบายสินค้าให้เร็วขึ้น หรืออีกวิธีเราต้องมีการคำนวณและมีการพยากรณ์ที่ดีก่อนการผลิต (Forecast) ว่า ไตรมาศนี้เราจะขายสินค้าได้ประมาณกี่ชิ้น จะมี Buffer stock กี่เปอร์เซ็นต์  สถิติย้อน 3 ไตรมาศ หรือ 3 ปีย้อนหลังเราขายสินค้าได้เท่าไร  ระหว่างเดือน มกราคม ปีที่แล้ว กับเดือน มกราคม ปีนี้ เราต้องเอาเทียบกัน และบวกเพิ่มประมาณ 10% รวมถึงดูการเติบโตของยอดขายหรือ Growth rate ว่า ปีที่แล้ว กับปีนี้ ของเราโตกี่เปอร์เซ็นต์ เช่น ปีที่แล้ว ยอดโตขึ้น 10% ดังนั้น ปีนี้อาจจะโตจากปีที่แล้วอีก 10% ควรผลิตมากกว่าปีที่แล้ว 10% ซึ่ง ถ้าเราผลิตได้ทันพอดีกับ Order ลูกค้า ถ้าเรามีการวางแผน Transportation และ Distribution ที่ดี เราก็ไม่จำเป็นต้องเก็บสินค้าเลย โดยส่งไปเก็บกับ Vendor แทน ซึ่งภาระด้านการจัดเก็บก็ตกเป็นของ Vendor ไป ซึ่งถ้าเราควบคุมปริมาณการผลิตได้ เราก็สามารถควบคุม Stock สินค้า และ Inventory ได้


2.Over Inventory (สินค้าคงคลังมากเกินไป)  การที่เราจะลดปริมาณสินค้าคงคลังได้เราต้องควบคุมทั้งสองทาง คือ ฝั่งเข้า กับ ฝั่งออก ต้องปฏิสัมพันธ์กัน ต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน  ถ้าผลิตอย่างเดียว ไม่เคยปล่อยของเลย สักพักสินค้าคงคลังต้องเต็มแน่  เราควรมีการวางแผน การผลิต รวมถึงการกระจายสินค้า การระบายสินค้า การขายสินค้าให้ได้  หรือเราอาจจะขายเป็นเงินเชื่อ 30 วัน หรือ 45 วัน แก่ Vendor รายใหญ่ เพื่อจะระบายของไปเก็บไว้กับ Vendor ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกต่างๆ  รวมถึงมีการทำการตลาดที่ดี ทีมงานขายมีความแข็งแกร่งสามารถระบายสินค้า กระจายสินค้าได้ดี  การวางแผนอัตราการผลิต  ความสามารถในการผลิตต่อชิ้น ควรคำนวณระยะเวลาว่าใช้เวลาไปเท่าใด  และเครื่องจักรควรจะได้พักหรือไม่  มีระบบจัดการคลังสินค้าที่ดีและทันสมัยนำเอาระบบ IT มาใช้ในการจัดเก็บสินค้า เพื่อการคำนวณที่แม่นยำ ถึงจำนวนสินค้าคงคลังที่แน่นอน

1.              3.Over Defect (ของเสียมากเกินไป)  การที่โรงงานของเรามีของเสียที่ตรวจนับได้เยอะจากแผนก QA และ QC เราต้องนำระบบ TQM มาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพทั้งสายการผลิต ว่าเกิดจากสาเหตุใด อาจจะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ตั้งสมมุติฐาน พิสูจน์  ทดสอบ สรุป วิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไข  ว่า การที่สินค้าเรามีตำหนิ เกิดจาก วัตถุดิบ เครื่องจักร ส่วนประสม อุณหภูมิ หรือว่า แรงงาน ซึ่งถ้าเราสามารถพิสูจน์ได้ชัดว่า เกิดจากสาเหตุใดเราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทัน และอัตราของเสีย Defect ก็จะลดลง ทำให้เราไม่ต้องทำลายสินค้าทิ้ง และเราไม่ต้องสูญเสียวัตถุดิบ raw material โดยเปล่าประโยชน์
การนำการจัดการคุณภาพโดยรวมมาใช้ ต้อง ได้รับการมีส่วนร่วมของพนักงาน ให้ความสำคัญกับลูกค้าภายใน(พนักงาน)และลูกค้าภายนอก  การเปรียบเทียบ (Benchmarking) และได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องทั้งระบบ  การแก้ไขปัญหาคุณภาพ ด้วย PDCA (Plan-Do-Check-Act)  มีการวางแผน ลงมือทำตามแผน การตรวจสอบ และการนำไปใช้ และถ้าตรวจสอบแล้วยังพบข้อผิดพลาดก็จะกลับไปขั้นตอนวางแผนใหม่
4.  4. Over Process คือกระบวนการที่ไม่จำเป็น ในบางกระบวนการในการผลิต เราสามารถทำพร้อมกันได้ในคนเดียวหรือ เราสลับตำแหน่งผิด  อาจจะทำให้เกิดระยะเวลารอคอย หรืออัตราการผลิตต่อชิ้นช้าลง  คนออกแบบ Line การผลิตควรจะปรับปรุง สายการผลิตอยู่เสมอ และควรจะรับฟังปัญหาจากพนักงาน ว่าพนักงานมีแนวคิดยังไงเกี่ยวกับ Line การผลิต  ซึ่งอาจจะสามารถใช้ได้กับงานธนาคาร ยกตัวอย่าง เช่น งานอนุมัติสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ โดยปกติ Process จะเริ่มจาก ลูกค้าเข้ามาติดต่อสาขา  โดยสาขาจะขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรลูกค้าก่อน โดยขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที และถ้าประวัติผ่าน ก็จะดำเนินการตกลงขายสินเชื่อให้กับลูกค้า ว่าได้ดอกเบี้ยเท่าไร ระยะเวลาส่งกี่งวด ถ้าลูกค้าตกลงก็เซนต์สัญญา ถ่ายเอกสารสำคัญเช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนรถ เอกสารแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน Statement จากนั้นให้ลูกค้ากลับบ้านไปก่อน แล้วฝ่ายตรวจสอบสินเชื่อ ก็ไปตรวจสอบที่อยู่ลูกค้ารวมถึงตรวจสอบกิจการ  จากนั้นฝ่ายตรวจสอบสินเชื่อนำข้อมูลที่ตรวจสอบได้มาเขียนรายงาน คำนวณรายได้ และค่างวดลูกค้า ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชม. จากนั้นส่งให้ฝ่ายการเงิน คีย์ข้อมูลขอสินเชื่อ ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 2 ชม. ส่งให้ฝ่ายอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งรอการอนุมัติประมาณ 2 ชม. ถ้าเกิดฝ่ายอนุมัติสินเชื่อขอเอกสารหรือขอคนค้ำประกันเพิ่มก็ต้องบวกเวลาเพิ่มไปอีก 2 ชม. หรือต้องรอวันรุ่งขึ้นจากนั้นรอฝ่ายอนุมัติสินเชื่ออีก 2 ชม. ถ้าสินเชื่ออนุมัติแล้ว ก็ติดต่อลูกค้าไปที่ขนส่งจังหวัดเพื่อดำเนินการโอนรถ และเตรียมเอกสารโอนรถ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4-6 ชม. จากนั้น เมื่อได้เล่มที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทแล้ว ลูกค้ายังไม่ได้เงินในทันที  ต้องส่งเอกสารทั้งหมดรวมถึงแสกนหน้าเล่มใหม่ไปให้ฝ่ายตรวจสอบสินเชื่อ หรือ QV ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและความถูกต้องของการอนุมัติทั้งหมด ถ้าเกิดปัญหา เช่น แอ็ปขอสินเชื่อผิดหรือเลขตัวรถไม่ชัดเจน  ต้องตีกลับซึ่งใช้เวลาในการตรวจประมาณ 2 ชม. และใช้เวลาอีก 2 ชม.ในการแก้ไขเอกสารเมื่อแก้ไขเอกสารเสร็จก็ใช้เวลา 2 ชม. ในการตรวจใหม่อีกหนึ่งรอบ และถ้าผ่านการตรวจแล้วก็ส่งให้ศูนย์โอนเงิน โอนค่ารถให้ลูกค้าซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ชม. จึงจะโอนเงินให้ลูกค้าแล้วเสร็จ ซึ่งทั้งระบบใช้เวลาเร็วสุดคือ 2 วัน ซึ่งช้าเกินไป ที่จริงขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลสินเชื่อควรจะตรวจก่อนโอนรถและทำไปพร้อมกับขั้นตอนการโอนรถ หรือโอนรถเสร็จก็ตรวจเพียงคร่าวๆ แล้วโอนเงินให้ลูกค้าก่อน  แล้วค่อยมาตรวจแอ๊บสินเชื่อทีหลัง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับเงินเร็วขึ้น  และลดระยะเวลารอคอย

5. Over Waiting time ระยะเวลารอคอย  ซึ่งการแก้ไขปัญหาระยะเวลารอคอย  เราต้องไปแก้ที่ Process กระบวนการทั้งระบบให้มีระยะเวลารอคอยน้อยที่สุด ต้องมีการวางแผนสายการผลิตที่ดี และการวางแผนปริมาณงาน ต้องไม่ไปกระจุกที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง  ซึ่งถ้างานไปกระจุกที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ตำแหน่งอื่นก็จะรอ  ควรจะเพิ่มเครื่องจักรหรือเพิ่มแรงงานเข้าไป ให้งานตรงนั้นเสร็จเร็วขึ้น หรือการวางแผนการไหลของงานให้ไหลลื่น ไม่ให้สะดุด  ในตำแหน่งๆ หนึ่งถ้างานหลุดไปต้องมีคนสำรองรอรับงานที่หลุดมา แล้วส่งต่ออย่างถูกต้องรวดเร็ว  การนำระบบ IT ระบบอินเตอร์เน็ต เข้ามา ทำให้การส่งข้อมูลเร็วขึ้น กรณีต้องรองานรับส่งเอกสาร รวมถึงการตัด Process งานที่ไม่จำเป็นออก ทำให้สามารถร่นระยะเวลาลง และทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น

6.Over Motion คือการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น ซึ่งการลดการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นคือการทำ Line ให้สั้นลง  ออกแบบสายการผลิตใหม่ ให้ส่งต่องาน จากแผนกหนึ่ง ไปยังอีกแผนกใกล้ขึ้น  เช่น จาก A ไป B ปกติ 5 เมตร ก็ขยับเข้ามาเป็น 2 เมตร ทำให้สามารถส่งต่องานกันได้เร็วขึ้นก็ไม่ต้องขยับ หรืองานขนส่งสินค้าลงรถ Container เข้าไปเก็บในร้านค้า  ซึ่งใน Pallet มีกล่องบรรจุมา 40 กล่อง แล้วทั้งรถมีทั้งหมด 6 Pallet และเราต้องเอาออกจาก Pallet ทีละกล่องเพื่อเอาสินค้าเข้าร้านซึ่ง Pallet เข้าไปไม่ได้  วิธีการทำคือ  แทนที่เราจะให้พนักงาน หยิบคนกล่อง กล่องใครกล่องมัน เราก็ให้ พนักงาน ยืนต่อแถวกันห่างกัน 1 เมตร อยู่บนรถ 1 คน แล้วก็ต่อๆ แถวกัน อีก 6 คน แล้วส่งยืนต่อๆกันจากคนแรกไปจนถึงคนสุดท้าย ซึ่งงานนี้ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที ก็สามารถจัดกล่องทั้งหมด 6 pallet หรือ 240 กล่องเข้าไปไว้ในร้านได้อย่างรวดเร็ว ถ้าหยิบใครหยิบมัน คนงานก็จะไปออกันที่ประตู คนหนึ่งเข้าคนหนึ่งออกและต้องแบกกล่อง 30 กก. ทำให้เกิดการเหนื่อยล้าได้

7.Over Moving การขนย้ายที่ไม่จำเป็น  ซึ่งการขนย้ายที่ไม่จำเป็นนี้ ถ้าเราผลิตสินค้าออกมามากเกินไป  เราก็ต้องนำสินค้าไปเก็บไว้ที่ Warehouse ก่อน  ก็จะขนถ่ายจาก Warehouse ไปที่รถ container อีกครั้งหนึ่ง ทำไมเราไม่วางแผนการผลิตใหม่ ทำ Inventory ให้เป็น 0 หรือ JIT (Just in Time)  แล้ว แทนที่จะขน Finished Goods ไปไว้ที่ Warehouse หรือ โกดัง เราก็ขนถ่ายขึ้นรถ Container แล้วนำส่ง Vendor Wholesaler, retailer ไปเลยซึ่ง ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันกับฝ่ายขายด้วย  และฝ่ายผลิตไม่ควรจะผลิตเกินกว่าจะจำนวนที่ฝ่ายขายขายได้  วิธีการคือ  แผนก แพ็คสินค้า แทนที่จะแพ็คใส่กล่องแล้วกองๆ ไว้กับพื้น ก็แพ็คใส่กล่องประมาณ 30 กก. อุ้มไปไว้ใน Pallet ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 2 เมตร จากนั้น แผนก Folklift ก็ Ship ขึ้นรถ Container ซึ่งห่างไม่เกิน 10 เมตรข้างโรงงานแล้วมีพนักงานอีก 2 คนอยู่บนรถ คอยเลื่อน Pallet ไปไว้ด้านในสุดของรถ Container ให้เต็ม ซึ่งจะทำให้รถ Folklift ทำงานแค่ขั้นตอนเดียว ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน 2 ขั้นตอน

8.Underrutillized people คือพนักงานส่วนเกิน ซึ่ง บางตำแหน่งเราควรใช้แค่ 2 คน แต่เราใช้ 3 คน ทำให้งานเสร็จเร็วก่อนกำหนด และทำให้ทั้งสามคนมีเวลานั่งเล่น และเกิด Waiting time ระยะเวลารอคอย การวางแผนจำนวนคนให้เหมาะสมกับงาน และการเลือกใช้คนให้ถูกกับงาน จะทำให้งานผิดพลาดน้อยลง  และการทำงานได้ประสิทธิผลมากกว่า  บางครั้ง Over Defect เกิดมาจากพนักงาน ที่ไม่ตั้งใจทำงาน หรือประมาทเลินเล่อ หรือพนักงานขาดทักษะ เราควรมีการจัดการกับพนักงานเหล่านั้นให้ถูกวิธี เช่น การฝึกอบรม Coaching หรือ การย้ายแผนกให้ทำงานในส่วนที่ตนเองถนัด หรือถ้าพนักงานไม่เข้าคุณลักษณะ ก็สามารถเลิกจ้างได้