วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

1mbps เท่ากับ กี่ KB/S

8 bits = 1Byte
8 Kbps = 1Kbyte/s
สมมติว่า 3G อัตราเป็น 14.0 mbps จะเท่ากับ 1.75 Mbyte/s
ถ้า 20 Megabit per second จะเท่ากับ 2.5 Mbyte/s
ถ้า 512mbps จะเท่ากับ 64KB/S
284mbps จะเท่ากับ 35.5KB/S นั่นหมายความว่า 1 นาที สามารถดาวโหลดได้ 2130KB/S หรือ 2.08MB
ปกติ ไฟล์วีดีโอ ยูทป ถ้าชมด้วยอัตรา 360P ไฟล์จะมีขนาดประมาณ 19MB
นั่นก็หมายความว่า ถ้าเนต 284mbps โหลดอัตรา 35.5KB/S จะโหลดไฟล์ 19 MB ด้วยเวลา ประมาณ 9.05 นาที
เวลา เราอยากดาวน์โหลดอะไรสักอย่าง เราอยากรู้ว่าตอนนี้เนตเราความเร็วเท่าไหร่ ไม่ต้องเข้าเวป speedtest.net ให้ยาก
เอาอัตรา ดาวน์โหลด ที่แสดงบนหน้าเวปเบราเซอร์ มาคูณ 8
จะทำให้รู้เลย ว่าเนตคุณดาวโหลดด้วยอัตราความเร็วกี่เม็ก
ถ้าวิ่ง 70KB/S ก็เท่ากับ 560kbps
แล้วถ้า ไม่มี AI ที่แสดงอัตราเร็วเป็น KB/S หรือ MB/S
ให้จับเวลา Start แล้ว STOP ปรากฎว่า 3 นาที 11 วินาที
ไฟล์ที่ดาวน์โหลด เรารู้อยู่แล้ว แค่เอาเมาส์ชี้ค้างไว้ หรือคลิ๊กขวา Properties สมมุติ ไฟล์มีขนาด 20MB
เวลาที่ใช้ 191 วินาที ไฟล์ขนาด 20480KB
20480/191 = 107.22KB/S
107.22KB/S คูณ 8 = 857.76Kbps

อยากมี อยากรวยมันอยู่ที่หัวใจ

อยากมี อยากรวยมันอยู่ที่หัวใจ
ผมเกิดในครอบครัวชาวนา
ตอนประถมผมเรียนโรงเรียนในหมู่บ้าน คือโรงเรียนบ้านหนองตานา
ตอนม.ต้น เรียนโรงเรียนประจำอำเภอ คือโรงเรียนหนองบัวระเหววิทยาคาร
ประถมถึงม.ต้น เรียนฟรี ไม่มีค่าเทอม เพราะนโยบายรัฐบาล
ตอนม.ปลาย ผมสอบเข้าโรงเรียนประจำจังหวัด คือโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ยื่นกู้ กยศ.
ตอนป.ตรี สอบเข้าเรียน ธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ ผมก็กู้กยศ. แถมเป็นเด็กวัด วัดป่ากู่แก้วอีก
ตอนป.โท พ่อแม่ผม กู้ธกส.ให้ มาจ่ายค่าเทอม
ตอนออกรถใหม่ ก็ได้ กรุงศรีออโต้ ไม่ต้องมีคนค้ำ
มอไซด์ MSX ผมก็ดาวน์แค่ 9000 กู้กับกรุ๊ปลีส ไม่ต้องมีคนค้ำ
ตอนมีบ้านหลังใหม่ ผมก็ยื่นกู้กับธนาคารออมสิน ไม่ต้องมีคนค้ำ
ดูสิ รัฐสวัสดิการ ดีขนาดนี้ แค่คุณทำตัวให้ดี อย่าไปติดเครดิตแบล็คลิส คุณก็มีทุกอย่าง แค่รอระยะเวลาที่เหมาะสม พยายามทำงานแต่ละที่ ให้ครบปี หอพักก็อย่าเปลี่ยนบ่อย อยู่ให้ครบปี แล้วยื่นกู้ ที่ไหนคุณก็ผ่าน


วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ปัญหาราคาข้าว

ปัญหาราคาข้าว
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
1. รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์
2. รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ
3. พาณิชย์จังหวัด
4. เกษตรอำเภอ
5. สหกรณ์การเกษตรอำเภอ
6. ธกส.
7. ตัวแทนชาวนา
8. ตัวแทนโรงสี
9. ตัวแทนผู้ส่งออกข้าว
10. ตัวแทนบริษัทค้าปลีกข้าว เช่น ข้าวตราฉัตร ฯลฯ
ต้องคุยกันครับ ให้ใครขับเคลื่อนอยู่ฝ่ายเดียวไม่ได้
ถ้าชาวนาไม่ขายข้าว ชาวนาไม่ตาย โรงสีสิจะตาย ผู้ส่งออกข้าวสิจะตาย ผู้ขายข้าวถุง ก็จะตาย GDP ประเทศก็ลดลง เพราะส่งออกข้าวได้น้อยลง
ลองชาวนาไม่ขายข้าวเปลือกดูไหมสัก 3 เดือน พร้อมกันทั้งประเทศ
ถ้ารัฐบาลไม่หา Demand นอกประเทศพึ่ง demand ในประเทศอย่างเดียวไม่ได้หรอก Supply ท่วม demand ราคาก็ถูกอย่างงี้ เอกชนผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ ต้องเพิ่มการส่งออกให้มากกว่านี้ หาฐานลูกเพิ่ม ขยายฐานลูกค้าไปยังประเทศใหม่ๆ ต้องทำการตลาด ขยายช่องทางจำหน่าย เพื่อสร้าง demand เพิ่ม

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ถ้าคุณมีตังค์ 3 ล้าน

ถ้าคุณมีตังค์ 3 ล้าน คุณเอาไปซื้อเบนซ์ 3 ล้าน
กับอีกคน เอาไปซื้อวีโก้ ซื้อบ้าน และที่นาอีก 10 ไร่และเหลือเงินเก็บอีกก้อนนึง
เมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี 
เบนซ์3 ล้านเหลือ 200,000 
กับอีกคน วีโก้เหลือ 100,000 บ้านเพิ่มราคาไป 1 เท่าคือ 2ล้าน และที่นา 10 ไร่ราคาเพิ่มเป็น 2 ล้าน แต่มีรายได้จากผลผลิตอีกปีละ 100,000 บาท
 เพิ่มคำอธิบายที่นาสิบไร่ ทำอย่างไร
ที่นาสิบไร่ ทำนา 4 ไร่ / ปลูกสลับกับถั่วลิสงหรือมันแกว
ขุดบ่อเลี้ยงปลา 2 ไร่
ไม้ยืนต้น 1 ไร่
สวนผักสวนครัว ปลูกพริกไทย ใบย่านาง และปลูกมะนาว 10 ต้น และเล้าหมูเล้าไก่ 1 ไร่
ไร่ข้าวโพด/สลับแต่งกวา/แตงโม/แคนตาลูป 2 ไร่









ความขัดแย้ง ระหว่าง การเปลี่ยนจากขาย Law material มาเป็น Finish Goods

ความขัดแย้ง ระหว่าง การเปลี่ยนจากขาย Law material มาเป็น Finish Goods
มีคนเคยบอกว่า ถ้าเราขายข้าวเปลือก 1 กก. จะขายได้ 5 บาท
ถ้าสีมาเป็นข้าวสารจะได้ 25 บาท
ถ้าหุงเป็นข้าวสุก จะขายได้ 35 บาท 
แต่อย่างไรก็แล้วแต่ สิ่งที่จะเป็นอุปสรรคในการจะขาย ข้าวสุก ใน ปริมาณ 1 ตัน 2 ตัน พร้อมกันในครั้งเดียว เราสามารถทำได้ไหม
สรุปคือ ไม่ได้
อย่างมาก คุณไปขายที่ตลาดนัด ขายข้าวหอมมะลินึ่ง หรือหุง ถุง 7 บาท
คุณต้องทำขายถึง 100 ถุง เพื่อจะได้เงิน 700 บาท แล้วคุณคิดว่าจะขายหมดไหม (หมด ถ้าคุณขายกับข้าวควบด้วย แล้วคุณทำกับข้าวเป็นไหม ผักลวก น้ำพริก ผัดกระเพรา ผัดเปรี้ยวหวาน แกงข่าไก่ แกงหน่อไม้ ผัดเผ็ดปลาดุก รวมๆ 4-5 อย่าง ขายในราคา 20-25 บาท เพราะถ้าคุณขายถุง 30 ลูกค้าเขาไปร้านตามสั่งหมดแหละ) ที่สำคัญคือคณจะเหนื่อยมากๆ
แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นข้าวสาร แพ็ค 1 กก. 5 กก. 10 กก. ทำแพ็คเก็จสวยๆ อาทๆ เก็บไว้ได้นานๆ แล้วคุณก็ไม่ต้องขายปลีก ขายส่งตามร้านค้า ตามร้านสะดวกซื้อ ตามร้านของฝากต่างๆ คุณว่า ข้าว 1 ตัน คุณสามารถกระจายให้หมด ภายใน 1 เดือนได้ไหม ถ้าคุณกระจายเก่ง ทำการตลาดเก่ง 1 ตันแทบจะไม่พอขาย


วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ชมรมอาสาเพื่อในหลวง มมส.


ชมรมอาสาเพื่อในหลวง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2549 กับ 1 สิ่งที่เคยทำไว้ เพื่อแผ่นดินของในหลวง

Msu digest : ค่ายอาสารักบ้านเกิด เศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้วิถีชีวิตเรียบง่าย จับจอบเขียนกระดานดำ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/54906  ในความยุ่งเหยิง วุ่นวายในแต่ละวัน หากมีช่วงเวลาหนึ่ง ได้กลับไปสู่ความเป็นตัวของตัวเอง ได้สัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเหมือนกลุ่มคนรุ่นใหม่บ้าง..


ช่วงชีวิตที่เป็นนิสิตนักศึกษา วัยแห่งการแสวงหา เป็นช่วงเวลาที่หลายคนได้ทำในสิ่งที่อยากทำ
แต่ในช่วงที่ทำงาน มีรายได้เป็นของตัวเอง จะทำอะไรก็ได้ กลับไม่สามารถทำสิ่งที่อยากทำได้ เหมือนช่วงนิสิตนักศึกษา

วันที่ ๒๔ ถึง ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ นิสิต มมส กลุ่มหนึ่งได้จัด ค่ายอาสารักบ้านเกิด        เป้าหมาย   เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และได้ดำเนินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกใช้ชีวิตที่เรียบง่าย
ต้องยอมรับว่า ความคิดของกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีความคิดที่ดีๆหลายอย่าง หลายคนที่มีประสบการณ์ทำงานมากขึ้น มีความรู้สูงขึ้น หลายครั้ง กลับคิดเรื่องหลายเรื่องไม่ออก ในขณะที่คนรุ่นใหม่คิดไม่นาน กลับหาทางออกของปัญหาได้อย่างลงตัว
ทั้งๆที่พวกเขาอายุน้อยกว่าท่าน กำลังขวนขวายหาความรู้ตามหลังหลายท่านอยู่
พลังของคนรุ่นใหม่ มีหลายอย่างที่มีคุณค่าต่อสังคม
ถ้าหลายท่านจะทำกิจกรรมอย่างที่นิสิตจัดค่ายอาสารักบ้านเกิด คงจะต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากทีเดียว ต่างคนต่างมีเงื่อนไข ข้อจำกัดที่ต่างคนต่างสร้างขึ้นมาเป็นกรอบครอบตัวของคุณเองทั้งนั้น
ถึงแม้ว่าจะทำอย่างคนรุ่นใหม่ไม่ได้ แต่การที่ได้ติดตามเส้นทางการเดินทางไปตามความฝัน สู่เป้าหมายที่ตั้งใจ ในแบบง่ายๆ ตรงไปตรงมา น่าจะให้แง่คิดหลายอย่างกับชีวิตได้บ้าง
สำหรับคนทำงานแล้ว อย่างน้อย เมื่อนึกถึงอดีต ในช่วงวันเวลาที่อยู่ในวัยเดียวกับพวกเขาเหล่านั้น อย่างน้อยก็ย่อมจะทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้นมาได้บ้าง
หลายคนทำงานหนัก คิดหลายชั้น คิดอย่างซับซ้อนจนลืมการลงมือทำในสิ่งที่ง่ายๆตรงไปตรงมา
ในความยุ่งเหยิง วุ่นวายในแต่ละวัน หากมีช่วงเวลาหนึ่ง ได้กลับไปสู่ความเป็นตัวของตัวเอง ได้สัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเหมือนกลุ่มคนรุ่นใหม่ในค่ายอาสารักบ้านเกิดบ้าง..
อาจจะไม่ต้องไปร่วมออกค่ายอาสากับกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่แนวคิดที่ได้รับ น่าจะหยิบกลับมาถามตัวเองบ้างว่า วันนี้ เราห่างไกลจากสิ่งต่างๆที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะไปออกค่ายอาสานี้ไปนานแค่ไหนแล้ว
ข้อมูลคร่าวๆ.... * * * * *
ชื่อโครงการ "เข้าค่ายอาสารักบ้านเกิด เศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้วิถีชีวิตที่เรียบง่าย จับจอบเขียนกระดานดำ"
ลักษณะของการปฏิบัติงาน
        เป็นการทำงานร่วมกับชุมชน โดยเป็นชุมชนของนิสิตเอง ซึ่งนิสิตมีความสนิทสนมกับคนในชุมชนอยู่แล้ว และวันเวลาที่จัดกิจกรรมคือ ในช่วงปิดภาคเรียนหลังสอบปลายภาค คือวันที่ 24 -28 ตุลาคม การเดินทางคือจะเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง วันแรกเป็นกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญรับขวัญนิสิต ส่วนในตอนเย็นของทุกวันเป็นกิจกรรมเกษตร ปลูกผัก หาปลา เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา บางวันก็ออกศึกษาดูพื้นที่ของเกษตรกร วันที่สองเป็นการรับฟังคำบรรยายเรื่องเกษตรทฤษฏีใหม่จากเกษตรอำเภอ และเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างปราชญ์ชาวบ้านกับนิสิต ฟังคำบรรยายจากเกษตรกรตัวอย่างในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง เช่น ผญา สรภัญญะ และการลำปอบผีฟ้า วันที่สามเป็นกิจกรรมดูแลรักษาป่าเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นกิจกรรมเต็มวัน วันที่สี่เป็นกิจกรรมสอนเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นเด็กในท้องถิ่น ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ที่โรงเรียนบ้านหนองตานา ตอนบ่ายเป็นกิจกรรม walk rally ของเด็กในท้องถิ่น ซึ่งจะมอบหมายให้นิสิตเป็นผู้ดูแล วันที่ห้าเป็นกิจกรรมเกษตร ออกศึกษาพื้นที่แปลงเพาะปลูกของเกษตรกร และเป็นพิธีปิด
        ระยะเวลาการปฏิบัติงาน
        ๕ วัน ๔ คืน คือวันที่ ๒๔ ตุลาคม ถึง วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
        สถานที่ปฏิบัติงาน
        บ้านหนองตานา ต.โสกปลาดุก อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
        จำนวนผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ....... คน
        อาจารย์ที่ปรึกษา ............ คน
        นิสิต 15 คน
        นักเรียนจากโรงเรียนบ้านหนองตานา จำนวน 100 คน
        ชาวบ้านบ้านหนองตานา 50 คน
        ผลที่คาดว่าจะได้รับ
        นิสิตได้รับการปลูกฝังให้มีใจรักชุมชน ภูมิใจที่ได้เป็นอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง นิสิตได้ทำงานเพื่อชุมชน และนิสิตเกิดความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมโครงการในครั้งนี้
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/54906
Msu digest : มองวิธีคิดจากค่ายอาสารักบ้านเกิด เศรษฐกิจพอเพียงของนิสิต มมส. การนำเสนอข้อมูลบนความขัดแย้งที่ลงตัว..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/54914
มองคนรุ่นใหม่ แล้วมองตัวเอง
การจัดโครงการเข้าค่ายอาสารักบ้านเกิด เศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้วิถีชีวิตที่เรียบง่าย จับจอบเขียนกระดานดำ วันที่ ๒๔ ถึง ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ บ้านหนองตานา ต.โสกปลาดุก อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ นั้น
ความจริงแล้ว เป็นเพียงกิจกรรมหนึ่งของคนรุ่นใหม่เท่านั้น  เหมือนกับอีกหลายโครงการที่เกิดขึ้นในช่วงปิดเทอมของนิสิต มมส.
แต่การมองวิธีคิดของคนรุ่นใหม่ จะได้แง่คิดดีๆกลับมาเช่นกัน แม้จะเป็นโครงการเล็กๆ กลุ่มเป้าหมายเล็กๆ วัตถุประสงค์และรูปแบบในแบบสามัญธรรมดา มองผ่านๆแล้ว ไม่น่าสนใจ
แต่เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ขัดแย้งกันอย่างลงตัว
1. ค่ายนี้เป็นค่ายอาสารักบ้านเกิด เศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ในหลักการเขียนไว้ว่า เนื่องจากวัฒนธรรมตะวันตกที่แพร่หลาย จนวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยกำลังจะหมดไป นิสิตลุ่มหลงและใช้เงินฟุ่มเฟือยตามกระแส ถ้างั้นหวนกลับสู่ความพอเพียงกันเถอะ
2. เป้าหมายเพื่อกลับไปสู่ความพอเพียง วิถีชีวิตที่เรียบง่าย กับการแจ้งข่าวสารกับกลุ่มคนที่อยู่ในกระแสตะวันตก วิธีคิดก็ต้องใช้ช่องทางเผยแพร่แบบกระแสตะวันตก ประชาสัมพันธ์ทั้งการติดป้ายประกาศ และทำเวบไซต์ http://www.geocities.com/zey_high/index2.htm แจ้งข่าวในเวบไซต์ มมส.  เปิดกระดานข่าว สร้างเครือข่ายขึ้นมา
เป็นวิธีคิดในการเข้าถึงข้อมูลสู่กลุ่มเป้าหมายที่จะต้องค้นคว้า หาคนที่อยากทำงานเพื่อสังคมให้ได้ แม้จะเป็นโครงการเล็กๆ แต่รูปแบบการบริหารจัดการ  การประชาสัมพันธ์ทำได้ครอบคลุมทีเดียว
ในขณะที่การทำโครงการของผู้ใหญ่หลายคน ไม่ครอบคลุม รอบด้านถึงเพียงนี้  หลายโครงการ ใช้งบประมาณมากกว่า แต่การประชาสัมพันธ์ไม่ครอบคลุม ไม่ทั่วถึง ข้อมูลในเวบไซต์ไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจ บางโครงการมีแต่ประกาศ และทิ้งที่อยู่เบอร์โทรให้ติดต่อสอบถามเท่านั้น เมื่อสอบถามกลับไปแล้ว ติดต่อไม่ได้ ไม่มีคนตอบ
แต่ถ้าคิดแบบเรียบง่าย เปิดกระดานข่าวไว้ ฝากข้อความ ให้รู้ว่า มีคนสนใจ เข้ามาดูติดตามความเคลื่อนไหวอยู่เรื่อยๆ
สำหรับโครงการใหญ่ๆของหน่วยงานต่างๆ อาจเป็นเพราะติดอยู่กับกรอบ ติดอยู่กับระเบียบขั้นตอนต่างๆ  ทำให้วิธีคิดง่ายๆ ทำยาก.....
และนี่ก็คือ บันทึกสะเก็ด มมส. แบบง่ายๆ กับการรับรู้ถึงข่าวสารกิจกรรมของคนรุ่นใหม่ ที่เข้าตานายบอนแล้วหยิบยกมาเขียนบันทึกไว้ทันที

http://www.geocities.com/zey_high/index2.htm
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/54914

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายเช่น
1. คือช่วยเหลือน้ำท่วมโคลนถล่มที่อ.ลับแล จ.อุตรดิต ปี 2549 










2. คือค่ายอาสารักบ้านเกิด จับจอบเขียนกระดานดำ ที่บ้านหนองตานา จ.ชัยภูมิเมื่อ เดือนตุลาคม 2549
ได้เชิญเกษตรอำเภอมาให้ความรู้แก่ชาวบ้าน เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการพาสมาชิกเข้าไปอยู่กับชาวบ้านและเรียนรู้วิธีการทำการเกษตรจริงๆ รวมถึงการฟื้นฟูป่าเฉลิมพระเกียรติ ที่วัดหนองตานา ซึ่งเป็นป่าที่ปลูกขึ้นใหม่ แต่ไม่ได้รับการดูแล รวมทั้งการขอแรงชาวบ้าน เข้าไป ถางหญ้า รดน้ำ บำรุงดิน จนป่าขึ้นเป็นป่าถาวร และผ่านมากว่า 10 ปีแล้ว
3. ค่ายกิจกรรมเด็ก และมอบอุปกรณ์การกีฬาโรงเรียนบ้านดอนนา จ.มหาสารคาม
ซึ่ง งบประมาณมาจากการจัดสรรเอง โดยไม่ได้เบิกจากงบของมหาลัยแม้แต่บาทเดียว เพราะยุ่งยากซับซ้อน


รวมถึงการไปร่วมกิจกรรมกับชมรมอื่น เช่นกิจกรรมเกี่ยวข้าว บ้านดอนนา

ในกิจกรรม "มหกรรมคนอาสา" (เกี่ยวข้าวใหม่  กินปลามัน ปั้นข้าวจ้ำ ร่วมทำบุญ)  ที่เพิ่งผ่านพ้นไปไม่นาน  แต่ก็กำลังจะเริ่มต้นมหกรรมรอบใหม่ในอีกไม่ช้า !

พวกเขาเรียกตนเองว่า "นิสิตบ้า"  เพราะหลายคนโดดเรียนไปลงแขกเกี่ยวข้าวช่วยชาวบ้าน  และขอรับบริจาคข้าวเปลือกไปช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัย "น้ำท่วม โคลนถล่ม"  ที่ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์




แต่โดยส่วนตัวแล้วผมแซวด้วยความรักใคร่ว่าพวกเขาไม่ได้บ้า ! แต่เป็นพวก "นิสิตกบฎ" ! เหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะแกนนำที่ขับเคลื่อนล้วนเป็นผู้นำองค์กรนิสิตทั้งนั้น  แต่ไม่ยัก "ขออนุมัติกิจกรรม" ตามระเบียบมหาวิทยาลัย  ไม่ว่าจะเป็น ชมรมคนสร้างฝัน  ชมรมครูอาสา ชมรมวรรณศิลป์  ชมรมอาสาเพื่อในหลวง หรือแม้แต่กลุ่มพลังเสรี 

ไม่แต่เฉพาะองค์กรนิสิตใน มมส เท่านั้น  แต่ยังมีพันธมิตรอีกไม่น้อยร่วมอุดมการณ์สานฝันด้วยกัน อาทิ  นักศึกษาจาก ม.อุบลราชธานี โรงเรียนพลาญชัยพิทยาคม เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน หรือแม้แต่มูลนิธิกองทุนไทย  ซึ่งร่วมใช้พื้นที่เล็ก ๆ ใน มหาวิทยาลัยฯ เป็นพื้นที่ "ระดมพลคนอาสา"  สืบมาตั้งแต่ ๑๖ พ.ย. ที่ผ่านมา 

               ผมติดตามกระบวนขับเคลื่อนของพวกเขามาโดยตลอด เมื่อสบโอกาสทั้งในระบบและริมทางเท้า  เราก็มักพูดคุย ไต่ถามและให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง  

               ผมให้ความสำคัญกับ "เนื้องาน" อันเป็น "น้ำใสใจจริง" ของพวกเขา  มากกว่าการ "ติดยึด"  กับระบบ แต่ก็ไม่วายที่จะชักชวนพลพรรคอาสาเหล่านี้นำกิจกรรมดี ๆ เข้าสู่ระบบในมหาวิทยาลัย หรือไม่มหาวิทยาลัยก็ควรกระโจน "ลงแรง"  ช่วยเหลือ สนับสนุนพวกเขาซะเลย  เพราะยังไงเสีย  กิจกรรมนี้ คือ กิจกรรมที่ให้ได้มากกว่า "ลุยขี้ตม  เกี่ยวข้าวแบบทนแดด ทนฝน ทนลมหนาว กินข้าวกลางลานดิน"  แต่มันเป็นกระบวนการเรียนรู้ในเชิง "วัฒนธรรมของชาวนา"  และการทำนาไม่ใช่อาชีพ  แต่มันเป็นวัฒนธรรมของชาวนา  ที่สำคัญอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะ "วิถีวัฒนธรรมแรงงานอาสา"  หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นหู (แต่ไม่คุ้นตาให้พบเห็นบ่อยนักในวิถีชาวนาในปัจจุบัน)  ว่า "ลงแขกเกี่ยวข้าว" 

แน่นอนที่สุด,  จุดประสงค์หลักก็คือการอาสาไปช่วยลงแขกเกี่ยวข้าวในหมู่บ้านเพื่อรับบริจาค "ข้าวเปลือก"  ไปช่วยชาวบ้านผู้ประสบภัยฯ ใน จ.อุตรดิตถ์ ที่ซึ่งครั้งหนึ่งนิสิตเหล่านี้เคยสัญจรลงพื้นที่ไปช่วยเหลือเกื้อกูลในนาม "อาสาสมัคร" มาแล้วครั้งหนึ่ง จนเกิดแรงบันดาลใจที่จะกลับมาขอรับบริจาคข้าวเปลือกไปให้ชาวบ้านได้ "บริโภค" และจัดเก็บเป็น "พันธุ์ข้าว" เพาะปลูก  และหว่านฝัน  ต่อลมหายใจให้ชีวิตในฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง ...



แต่สำหรับผมแล้ว  ผมเห็น (๑) แรงใจและจิตสำนึกอันดีงามของคนหนุ่มสาวที่มีต่อคนไทยที่ตกอยู่กับชะตากรรมความลำเค็ญจากภัยธรรมชาติ (๒)  เห็นการทำงานในระบบเครือข่ายพันธมิตรทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย ทั้งในภาครัฐและเอกชน (๓)  เห็นการสัมผัสและเรียนรู้วิถีชาวนากลางทุ่งข้าว ทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิต รวมถึงการกินอยู่แบบเรียบง่ายกลางสายลมหนาว (๔)  การแลกเปลี่ยนแนวคิดและพลวัตรการทำนาของคนอีสานผ่านเวทีชาวบ้านท่ามกลางบรรยากาศค่ำคืนที่ท้องฟ้าประดับด้วยดาวหลากดวง หรือแม้แต่กลางทุ่งข้าวที่ลมหนาวยังพัดวู่ไหว (๕) เห็นน้ำใจและความอารีของชาวบ้านที่มีต่อชาวบ้านด้วยกันอย่างอบอุ่น (๖)  เห็นปราชญ์ชาวบ้านที่ยังทำหน้าที่มรดกทางสังคมอย่างไม่ลดละ  ...ฯลฯ 

วันเวลาล่วงถึงวันนี้ ,  ข้าวเปลือกกองใหญ่กองรวมกันที่วัดบ้านดอนนา (จ.มหาสารคาม) และยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่ขนย้ายมาจากพื้นที่ ต.ดงลาน อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด  ซึ่งคาดว่าจะได้ข้าวเปลือกจาก "ศรัทธา" ที่ร่วมกันลงแขกเกี่ยวข้าวไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ กระสอบ

บัดนี้   "เกี่ยวข้าวใหม่   กินปลามัน ปั้นข้าวจ้ำ"  ได้ยุติลงแล้ว  คงเหลือแต่เฉพาะ  "ร่วมทำบุญข้าว" (สู่ขวัญข้าว) ในห้วงเดือนมกราคมอันเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของชาวนาที่ตระหนักในบุญคุณของ "ข้าว" ที่นิสิตย้ำเน้นว่าให้ความสำคัญกับพิธีกรรมนี้มาก  และต้องประกอบพิธีตามวิถีชาวนาเสียก่อน  จึงจะขนย้ายและส่งมอบไปยังพี่น้องชาวอุตรดิตถ์

  แต่ในแววตาที่ฉายฉานอยู่นั้น  ผมรู้ว่ามีความเหนื่อยล้าซ่อนแฝงอยู่อย่างลึกเร้น  โดยเฉพาะปัญหาหลักที่โหมกระหน่ำเข้ามายิ่งกว่าลมหนาวที่หนาวเหน็บและเย็นยะเยือก

          ปัญหานั้นก็คือ "งบประมาณ"  สนับสนุนการจัดกิจกรรมของนิสิตที่มีอยู่อย่างน้อยนิดและไม่เพียงพอต่อการ "ขนย้าย" ข้าวเปลือกจาก จ.ร้อยเอ็ด  มายัง จ.มหาสารคาม และถ่ายโยงไปสู่ จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งหากล่าช้าไปกว่านี้สภาวะความชื้นของหมอกหนาว  อาจทำให้ข้าวเปลือกชื้นแฉะ   ไม่สามารถใช้ประโยชน์อันใดได้อย่างเต็มที่...

ผมเข้าใจและเห็นใจอย่างลึกซึ้งต่อ "มหกรรมคนอาสา"  ที่ (หนีเรียน) หลบเร้นไปจากห้องเรียนมหา'ลัย ไปสู่  "ห้องเรียนชีวิต" กลางทุ่งข้าว  และอดสะท้อนใจไม่หายกับชะตากรรมที่พวกเขากำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเรื่องงบประมาณ ...!



"นิสิตบ้า"  หรือ  "นิสิตกบฎ"   ย้ำกับผมอย่างแผ่วเบา  แต่หนักแน่นว่า  การพบปะกันในวันนี้  มิใช่การบอกกล่าวเล่าความเหมือนครั้งที่ผ่านมา  หากแต่มาร้องขอความช่วยเหลือในการขับเคลื่อนใน "โค้งสุดท้าย"

ก่อนลาจาก ....ผมหยิบยกเอาถ้อยคำของท่านผู้หนึ่งที่เพิ่งผ่านเข้ามาในชีวิตผมเมื่อไม่นานบอกกล่าวกับเขาว่า "ความจริงสวยงามเสมอ"  พร้อมให้สัญญากับเขาว่า "พันธกิจ"  ของผู้คนในมหกรรมคนอาสา  จะต้องเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางอย่างแน่นอน ... เพราะคนทำดี  ไม่สมควรถูกปล่อยเคว้งและเดินทางอย่าง "เดียวดาย"

            เรี่ยวแรงและหยาดเหงื่อการเก็บเกี่ยวของ "คนอาสา" และ "ชาวนา" จากที่ราบสูงในวิถี "ลงแขก"  จักต้องไม่สูญเปล่า  ..



            ที่สำคัญผมและนิสิตกบฎท่านนี้ยังวาดหวังว่า  ปีหน้าฟ้าใหม่เราจะขับเคลื่อนกองทุนข้าว (ธนาคารข้าว)  ขึ้นที่ชุมชนใกล้ ๆ มหาวิทยาลัย  ให้ชาวบ้านได้เป็นส่วนหนึ่งของการเก็บเกี่ยว , ก่อตั้งกองทุนข้าว  และร่วมใช้ประโยชน์ร่วมกันเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา (เมื่อนานมาแล้ว)

 แต่ตอนนี้และขณะนี้  เราต่างก็บอกกับตนเองว่า "มหกรรมคนอาสา" บทใหม่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ....และเราก็พร้อมแล้ว... จาก https://www.gotoknow.org/posts/69325





วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การทำงานแบบโปรแอคทีฟ ดีอย่างไร



การทำงานแบบโปรแอคทีฟ ดีอย่างไร
โปรแอคทีฟในบริบทของเงินติดล้อ จะใช้อยู่ 2 กรณี
กรณีที่ 1 กรณีที่ไม่มีลูกค้า เราต้องออกตลาดเชิงรุก แล้วเข้าไปknock ลูกค้าสอบถามความต้องการถึงบ้าน คือเห็นที่ไหนหน้าสนใจ ป๊าบ เข้าไป แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสนใจใช้วงเงินสนเชื่อ บางทีอาจจะโดนไล่ออกมา โดนด่าโน่นนี่นั่น แต่เราก็ต้องอดทนและหน้าหนานิดนึง เราอาจจะคลายข้อสงสัยในตัวเอง คืออยากให้เจ้าของธุรกิจนี้มาเป็นพาสเนอร์เรา แต่เราได้รองแล้วก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ใช่ว่าจะทิ้ง เราจะหาจังหวะ เข้าไปพบใหม่ เว้นระยะ เผื่อลูกค้ามีความสนใจ บางทีลูกค้า พอมีโอกาสใช้เงินจริงๆเขาอาจคิดถึงเรา
กรณีที่ 2 การนัดทำสัญญา แบบ Proactive คือเข้าไปสถานที่ทำงานหรือบ้านลูกค้าเลย ข้อดีคือความรวดเร็ว ลูกค้าไม่ต้องขับรถวนมาหาเรา บางทีลูกค้าบางคนยังลังเล หรือมีหลายที่ให้เลือก แต่การที่เราเข้าไปพบ แล้ว knock เก็บเล่มเก็บเอกสารออกมา รับรองว่าลูกค้าไม่ไปไหนแน่นอน
ข้อเสียคือถ้าลูกค้ายังไม่ถ่ายเอกสาร จะหาร้านถ่ายเอกสารยากนิดนึง ต้องโทรคุยบอกลูกค้าเตรียมเอกสารก่อน บางทีถ้าลูกค้ายังไม่ตกลงก็ยังไม่เตรียมเอกสารไว้ เราต้องเข้าทำไปทำความเข้าใจก่อนและใช้เวลาในการรอนิดนึง ต้องใจเย็น ข้อเสียคือใช้เวลาในการทำสัญญานานกว่าแต่จะได้ความสนิทสนมและได้ใจลูกค้ามากกว่า



วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบริหารกระแสเงินสดที่ดี

การบริหารที่จำเป็นในธุรกิจรวมถึงการบริหารชีวิตตัวเองคือการบริหาร Cash flow  คือการไหลของเงินสด
บางทีสต๊อคเยอะจริง อุปกรณ์ต่างๆมีครบแต่ถ้าไม่มีเงินสด  ก็ขาดสภาพคล่องและความน่าเชื่อถือ
เราต้องมีเงินไว้จ่ายอย่างทันเวลา
อาจจะเป็นเงินที่ฝากแบงค์ไว้ก็ได้ไม่ว่าจะบัญชีออมทรัพย์กระแสเงินสดหรือบัญชีOD
ทุกคนไม่มีใครไม่เป็นหนี้  หนี้จากสินทรัพย์ถาวร จากเงินลงทุน หรือเงินกู้ธนาคารสถาบันการเงิน  อย่างน้อยทุกสิ้นเดือนคุณต้องจ่ายค่าน้ำค่าไฟ
ถ้าผ่านวันนั้นไปคุณไม่จ่ายก็กลายเป็นหนี้เพราะคุณใช้ไฟหลวงก่อนแล้วจ่ายทีหลัง ถูกมะ รวมทั้งค่าโทรศัพท์และค่าอินเตอร์เนต รวมถึงค่าแรงพนักงาน ค่าแรงบางทีจ่ายรายวัน รายสัปดาห์รายเดือน
คุณต้องรู้ให้แน่ชัดว่าเงินเข้าจากรายได้การขายสินค้า หรือจากลูกหนี้การค้าวันไหน  แล้ว คุณต้องจ่ายเจ้าหนี้ของคุณวันไหน
แน่นอนบริษัทที่จะไปรอดคือต้องมีเงินเข้ามากพอที่จะจ่ายเงินออก
แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินมา เช่นคุณโดนค่าซ่อมรถ โดนไฟไหม้  น้ำท่วม ภาษีย้อนหลัง ญาติโทรมายืมเงินฉุกเฉิน
แน่นอนว่า เงินหมุนเวียนคุณไม่พอจ่ายหนี้แน่นอน
แล้วคุณจะไปต่ออย่างไร
ถ้าคุณไม่รักษาเครดิตก็ปล่อยผ่าน  ถ้าคุณจะรักษาเครดิตต้องกู้เงินมาจ่าย
ถ้าคุณมีรถ แนะนำว่าง่ายกว่าที่ดินแน่นอน  สินเชื่อเช่าซื้อ จำนำ ทะเบียนรถยนต์  ที่เข้าใจทุกคน นั่นคือ เงินติดล้อ อนุมัติไว ดอกเบี้ยถูก  088-0880880