สรุปวิชา BUS
7304 การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ
แนวข้อสอบ:ออกเป็นลักษณะของกรณีศึกษา
1 case ขั้นตอนการทำเหมือนกรณีศึกษา
ขั้นตอนการวิเคราะห์กรณีศึกษา
เพื่อวางแผนการจัดทำการสื่อสารทางการตลาด
เขียนข้อสอบแบบประเด็นที่ทำรายงาน - SWOT- Object-
Theme- IMC- CRM+CSR
1.
ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้แก่ การพิจารณาถึงรูปร่าง คุณสมบัติการให้บริการ
เทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการผลิต การวิจัยและรับรองจากองค์การต่างๆ โดยมักใช้หลักของ who why
whereHow what when (ใคร
ทำไม ที่ไหน อย่างไร อะไร และเมื่อไร)
Ø Who
Ø Why
คือการบอกถึงหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น ใช้ได้ง่าย ติดตั้งสะดวก ขนาดกะทัดรัด
เป็นต้น
Ø Where
ใช้ที่ไหน นอก-ในอาคาร
หรือนอก-ในรถยนต์ สถานที่จะตัวกำหนดข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์
Ø How
ใช้อย่างไร ต้องบอกถึงหลักการทำงาน
ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
Ø What
เป็นผลิตภัณฑ์อะไร โดยบอกลักษณะโดยรวม ใครเป็นผู้ใช้งาน ใช้ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร่
และใช้อย่างไร แนวคิดด้านการออกแบบ
การใช้เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ของการใช้ชีวิตประจำวัน
ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนา
ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยี ต้องพิจารณาถึงผลกระทบ 3 ส่วน คือ ผลกระทบต่อชีวิต ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
ü ผลกระทบต่อชีวิต
ได้แก่ ด้านสุขภาพ เช่น ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มอก.
ถ้าเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารต้องผ่านมาตรฐาน อย. เป็นต้น
ü ด้านสังคม
ได้แก่ การใช้หลอดประหยัดไฟเบอร์ 5 การใช้หลอดตะเกียบ เป็นต้น
ü ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้โลกปลอดภัยจากมลภาวะ
ไม่ก่อให้เกิดน้ำเนาเสีย ไม่ก่อให้เกิดขยะ หรือสามารถนำมารีไซเคิลได้ เป็นต้น
-
การจัดทำ SWOTวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคโดยวิเคราะห์จาก ตัวผลิตภัณฑ์เองการแข่งขัน
แนวโน้มการเจริญเติบโต เพื่อการเลือกใช้สื่อในการสื่อสารไปยังผู้บริโภค
การวิเคราะห์การแข่งขัน/วิเคราะห์คู่แข่ง มอง 4 ลำดับขั้นคือ
แข่งขันกันในเรื่อง
|
ตัวผลิตภัณฑ์ “โค๊ก”
|
TOYOTA
|
1.
เหมือนกัน(แยกความแตกต่างได้ยาก
|
แป๊บซี่,S,บิคโคร่า
|
Honda
|
2.
สินค้าประเภทเดียวกัน
|
แฟนต้าสไปร์ มิรินด้า 7 up
|
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล อย่างเชฟโลเลทนิสสัน ฟอร์ดมิตซูมาสด้าและซูซูกิ
เป็นต้น
|
3.
เป็นสินค้าทดแทนกันได้
|
เครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้ น้ำชา
น้ำเปล่า น้ำแร่ เป็นต้น
|
เป็นพาหนะเหมือนกัน
เช่นรถมอเตอร์ไซด์ จักรยาน เรือ เป็นต้น
|
4.
จำนวนเงินทีผู้บริโภคมีจับจ่ายใช้สอยเพราะผู้บริโภคมีเงินจำกัด
|
แทนที่จะดื่มน้ำอัดลมดังกล่าว
ก็หันไปซื้ออย่างอื่นแทนเพื่อให้อิ่มท้อง เช่นไปซื้อข้าวเหนียวหมูปิ้งไปเลย
(ทำให้เกิดการเสียโอกาส)
|
เปลี่ยนใจไม่ซื้อรถ แต่หันไปซื้อที่ดิน หรือซื้อบ้านแทน
ในจำนวนเงินที่มีกำลังซื้อมากกว่า
|
การวิเคราะห์ในเรื่องดังกล่าวจะทำให้เราวางแผนกำหนดการสื่อสารเพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการนำเสนอ
ว่าผลิตภัณฑ์ของเรามีความจำเป็นต่อผู้บริโภคมากเพียงไร เป็นต้น
2.
การกำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
เช่น เพื่อสร้างการรับรู้ในตรายี่ห้อ พร้อมกำหนดเป็น % เพื่อให้สามารถประเมินได้ เช่น เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ในตราสินค้าร้อยละ
70, เพื่อให้ผู้บริโภคยอมรับใน Brand
ร้อยละ 50, ผู้บริโภคต้องการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ร้อยละ 12 หรือ
เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ร้อยละ 3
เป็นต้น
3.
กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป้าหมายเป็นใคร ผู้หญิงหรือผู้ชาย เด็กหรือผู้ใหญ่
ทั้งนี้อยู่ที่การแบ่งประเภทของผู้บริโภคที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา
ซึ่งอาจแบ่งตาม เพศ วัย การศึกษา รายได้ แบ่งตามลักษณะของภูมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ หรืออาจแบ่งผู้บริโภคเป็นกลุ่ม
ผู้ใช้คนสุดท้าย ตัวแทน องค์กร
4.
การออกแบบเนื้อหา(แนวเรื่อง) อาจเป็น สโลแกน ข้อความ สั้นๆ
เข้าใจง่าย บ่งบอกถึงตัวผลิตภัณฑ์ เช่น
“จะดีกว่าถ้ามีเราเป็นพยาน” พวกกล้องวงจรปิดเป็นต้น หรือ “อุ่นใจเมื่อมีเรา”
5.
การเลือกเครื่องมือการสื่อสารการตลาดการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ
(Integrated Marketing Communication) หมายถึง
กระบวนการของการพัฒนาแผนงานการสื่อสารการตลาดที่ต้องใช้การสื่อสารหลายรูปแบบเพื่อจูงใจกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
เครื่องมือการสื่อสาร มี 5 เครื่องมือคือ
1.
การโฆษณาหรือ AD คือรูปแบบของการจ่ายเงินเพื่อเสนอขาย
หรืแจ้งเรื่องราวเกี่ยวกับความคิดสินค้าหรือบริการ โดยไม่ใช้บุคคล
ผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อทางโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสาธารณะ เช่น ป้ายโฆษณา
สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อดิจิตอล เช่น จัดทำเว็บไซต์ Social media , line, facebook เป็นต้น
2.
การประชาสัมพันธ์ หรือ PR หมายถึง
การจัดการให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ ความเข้าใจ
มีความเชื่อถือในสินค้าและบริการนั้นๆ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
3.
การส่งเสริมการขาย หรือ SPหมายถึง
กิจกรรมที่สามารถกระตุ้นความสนใจ
การทดลองใช้หรือการซื้อของลูกค้าในระยะเวลาอันสั้น เช่น การลด แลก แจก แถม
4.
การขายโดยบุคคลหรือ PS หมายถึง การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
เพื่อให้เกิดการรับรู้ ความชื่นชมและกระตุ้นการตัดสินใจซื้อโดยทันที
(จัดพนักงานขาย)
5.
การตลาดทางตรง หรือ DM หมายถึง
การสื่อกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง เช่น การใช้โทรศัพท์ จดหมาย แคตตาล็อก
ผ่านสื่อทางโทรทัศน์ เช่น TVDirect ผ่านสื่อทางวิทยุ เช่น
การให้โทรศัพท์เข้าไปแล้วได้สิทธิพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลด คูปอง เพื่อให้เกิดการตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งสื่ออิเล็กทรอนิก
เช่น ขายของผ่านเว็บไซต์
ในการเลือกเครื่องมือต่างๆ ต้องพิจารณาถึง วงจรชีวิต
แนะนำ |
เจริญเติบโต
|
อิ่มตัว
|
ตกต่ำ
|
ให้ข้อมูล
|
ชักชวน
|
จดจำได้
|
|
-เผยแพร่ผ่านนิตยสาร
-โฆษณา
-จัดพนักงานขาย
-แจกของตัวอย่าง
ในงาน Event
|
-พนักงานขาย
-การโฆษณาที่เน้นความแตกต่างจากคู่แข่ง
|
-การโฆษณาให้จดจำยี่ห้อ
-การให้ส่วนลดและคูปอง
-ใช้การตลาดทางตรง
|
ลดการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารอื่นๆ ลง
|
การนำเสนอการสื่อสาร ก่อนการซื้อ การโฆษณา มีความสำคัญมากต่อกระบวนการตัดสินใจ
ขั้นการซื้อ การขายโดยบุคคล มีความสำคัญ เช่น การจัดแสดงสินค่า ณ จุดขาย
หลังการซื้อ -การขายโดยบุคคลยังคงมีความสำคัญอยู่ ต้องให้บริการเพิ่มมากขึ้น
เพื่อสร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
-การโฆษณาจะทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจว่าได้สินค้าตรงตามความต้องการ
-การส่งเสริมการขายและการตลาดทางตรงจะช่วยเตือนให้ลูกค้าจดจำยี่ห้อ
สินค้าได้
และเกิดการซื้อซ้ำ
ลักษณะการสื่อสาร โดยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ นั้น
เป็นการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบ “ดึง”
การจัดพนักงานขาย ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ เป็นการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบ
“ผลัก”
การออกแบบเนื้อหาของข่าวสาร เน้นในการเชิญชวนมี 3
ชนิด แบบใช้เหตุผล เช่น คุณภาพ ความประหยัดแบบอารมณ์ เช่น ตลก ความรักด้านจริยธรรม
เช่น เนื้อหาเพื่อให้เกิดความกลัว ความผิด ความอาย
การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ตัวแทนจำหน่าย
ชุมชน สื่อมวลชนและรัฐบาล
การสร้างความสัมพันธ์กับพนักงาน
ก็เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน หลักการสร้างความสัมพันธ์กับพนักงาน ได้แก่
การกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับความสนใจและสิ่งที่พนักงานคาดหวัง
การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เพราะลูกค้าคือแหล่งรายได้และเป็นผู้มีส่วนใดส่วนเสียโดยตรงจากการดำเนินงาน
และพฤติกรรมของผู้บริโภคมีผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
รักษาลูกค้าเก่า ดึกลูกค้าใหม่ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่
จัดการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน และลดค่าใช้จ่ายในการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
คือการสร้างสัมพันธ์อันดีกับชุมชนที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
เพื่อสร้างชื่อเสียง ป้องกัน รักษา และการได้รับความร่วมมือจากชุมชน ลักษณะการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เช่น
การเป็นสมาชิกของชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ การนำรายได้เข้าชุมชนและพัฒนาชุมชน
เป็นต้น
การสร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน
เพื่อการร่วมมือในการเผยแพร่กิจกรรมขององค์กรสู่สาธารณชน รูปแบบการใช้ข่าวกับสื่อ
เช่น เอกสารข่าว บทความ สารคดี ภาพ แฟ้มคู่มือ การให้สัมพันธ์ การประชุมแถลงข่าว
การสร้างความสัมพันธ์ได้แก่ การจัดงานขอบคุณ การเยี่ยมชมกิจการ
การรับประทานอาหารร่วมกัน
การสร้างความสัมพันธ์กับรัฐบาล
ก็เพื่อสร้างความเข้าใจ การร่วมมือกัน การดำเนินงานที่ไม่ขัดต่อนโยบายของรัฐ เช่น
การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของรัฐ
การประชาสัมพันธ์ภายใต้ภาวะวิฤตคือ
ใช้การอธิบายด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง มากกว่าการเถียง
บันทึกเหตุการณ์ทุกแง่มุมที่ปราศจากความลำเอียง สื่อสารอย่างทันสมัย
ให้และรับข้อมูลเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง
ความรับผิดชอบต่อสังคม(Corporate
Social Responsibility)
หรือ CSR
คือการแสดงความรับผิดชอบถึงผลกระทบจากการประกอบธุรกิจ ที่มีต่อผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียขององค์กร ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดพื้นฐานของการทำ
CSR ใช้หลัก
3P
1.People ทุนมนุษย์ >>การจัดสรรผลประโยชน์แก่พนักงานด้วยความยุติธรรม
2. Planet ทุนทางธรรมชาติ>>ลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด
3. Profit ผลกำไร>>ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
และการเงิน
รูปแบบการทำ CSR
·
การส่งเสริมประเด็นสังคม (Couse
Promotion) เช่น จัดโครงการอบรมนักเรียนนักศึกษา
ให้มีการป้องกันเพื่อลดปัญหาท้องในวัยเรียน
·
การอุดหนุน/การบริจาครายได้ส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือสังคม
เช่น การซื้อแบรน เป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการทำขาเทียมให้กับคนพิการ ,เมื่อซื้อสินค้า........ 1
บาทถูกแบ่งไปช่วยเหลือให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนในถิ่นธุระกันดานเป็นต้น
· ร่วมมือกับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อสร้างสัมพันธ์ภาพในการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
·
การสนับสนุนกิจกรรมบางกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม
เช่น เมาไม่ขับ กระทรวงสาธารณสุข มีการจัดการ
รณรงค์ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เพื่อป้องกันโรคท้องร่วง
· การบริจาคโดยตรง
ซึ่งอาจเป็นในรูปของ เงิน หรือวัตถุสิ่งของ
· การสนับสนุนให้พนักงาน
ได้สละเวลาเพื่อทำงานให้แก่ชุมชน
การจัดอาสาสมัครช่วยเหลือชุมชน
การบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์(Customer
Relationship Management)หรือ CRM เป็นกิจกรรมที่กระทำต่อลูกค้า ซึ่งเป็นผู้บริโภคคนสุดท้าย แต่ละรายอย่างต่อเนื่อง
โดยมุ่งให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจ มีการรับรู้ที่ดี
และมีความรู้สึกที่ดีกับองค์การและตัวผลิตภัณฑ์เอง โดยใช้การสื่อสารแบบ 2 ทาง ได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
บันไดของการสร้างความสัมพันธ์
การตลาดแบบเชิงรุก
มุ่งเน้นความเอาใจใส่
กลยุทธ์ตั้งรับ
กลยุทธ์พื้นฐาน
อ.สุรเสกข์พงษ์หาญยุทธ์ เน้นการโฆษณา
แนวข้อสอบ: ให้โปรดโหมดสินค้าประเภทหนึ่ง
บทบาทการโฆษณา คือ
1.
กำหนดรูปแบบของ
Marketing Mix (4 P) = Product, Price ,Place, Promotion
Ø Product ได้แก่ คุณภาพ(Quality) คุณสมบัติ(Feature) ส่วนผสม/วัตถุดิบ(Attribute) ส่วนประกอบ(Ingredient) ประโยชน์(Benefits) Option
ทางเลือก Design การออกแบบ Style
รูปแบบ Brand Name ยี่ห้อ และ Package
หีบห่อ
Ø Price
ได้แก่ มีความหลากหลาย มีการให้ส่วนลด มีข้อตกลงระหว่างธุรกิจ
มีรอบการจ่ายเงิน การให้เครดิต
Ø Place ได้แก่ ทำเลที่ตั้ง
การตกแต่งร้าน การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก สินค้ามีความคลอบคลุม หาซื้อได้ง่าย
การมีสินค้าคงคลัง Inventory
Ø Promotion
ได้แก่ การกำหนดข้อความในสื่อ การเลือกสื่อ
การส่งเสริมสนับสนุนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายSales Force
การจัดการส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ การทำตลาดทางตรง
2.
การแบ่งส่วนตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ
เช่น ความแตกต่างของสินค้า และตำแหน่งครองใจ
3.
เพื่อสร้างรายได้และทำกำไร
4.
เพื่อยกระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค
โฆษณาต้องพิจารณากลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่าเป็นใครบ้าง เช่น
ผู้บริโภคภาคครัวเรือน สมาชิกในองค์กรด้านธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนในการกระจายสินค้า
ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม หรือกลุ่มเจ้าหน้าที่ด้านจัดซื้อจัดจ้าง พนักงานต่างๆ
คุณลักษณะพื้นฐาน 3 ประการของการโฆษณาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.
แสดงถึงความสนใจ ความเอาใจใส่
สร้างการรับรู้ การให้มีส่วนร่วมและอยากรู้อยากเห็น
2.
ก่อให้เกิดการจดจำ เน้นการยอมรับ
และนึกถึง โดยการทำ Content การกำหนดเนื้อหาที่ทำให้จำได้
โดยมีลักษณะคือ ข้อความสั้นๆ
อาจเป็นสโลแกน และต้องง่าย
3.
เชิญชวน โดย การให้ข้อมูล ที่แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึก
โดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมและต้องกระชับ
การโฆษณาเน้น การสร้างการรับรู้ จดจำตรายี่ห้อของสินค้า ต้องให้เห็นรูปร่าง
รูปแบบของสินค้า
การกำหนดวัตถุประสงค์ของการโฆษณา
ต้องชัดเจนประเมินได้โดยส่วนใหญ่กำหนดในเชิงปริมาณ เช่น
ผู้บริโภครับรู้ถึงตราสินค้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ต้องเป็นจริงได้ ใช้ภาษาที่ชัดเจน
การแบ่งส่วนตลาดและการวางตำแหน่งครองใจ
เพื่อต้องการเข้าใจลูกค้า อาจแบ่งส่วนจาก
Ø ขนาดตลาด
Ø แนวโน้มของตลาดในแต่ละ
Segment
Ø กระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค
เช่น คนระดับล่างมีกระบวนการคิดสั้นๆ ตัดสินใจง่าย คนมีความรู้ มีเงิน
มีกระบวนการตัดสินค่อนข้างมาก ถ้ารวยมากๆ
ก็อาจตัดสินใจเร็วได้เช่นกัน กับสินค้าบางประเภท
Ø ประโยชน์ที่ผู้บริการจะได้รับ
Ø การรับรู้
Brand ที่แตกต่างกัน
การวิเคราะห์ตำแหน่งของสินค้า ต้องพิจารณาจาก ประโยชน์ที่ผู้บริโภคคาดหวัง
ราคากับคุณภาพ การใช้งาน
ระดับของสินค้าหรือระดับของผู้บริโภค ลักษณะสินค้ามีระดับหรือเป็นกลุ่มไหน
และการแข่งขัน
กลยุทธ์ที่ใช้ในการทำโฆษณา
ü ในเชิงรุก(Proactive)ได้แก่ การตอกย้ำความเป็นผู้นำ การส่งเสริม/สนับสนุนกิจกรรมต่าง
การรับผิดชอบต่อสังคม การให้ข้อมูลทาง Internet
ü ในการปฏิกิริยา
Reactive ได้แก่ การแถลงข่าว การแก่ต่าง การหาโอกาสในการแก้ไขปัญหา
การแสดงการขอโทษ การป้องกันเหตุ
การแต่ต่าง และการให้เหตุผล
บุคลิกของสินค้าบอก
เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา ความทันสมัย ความก้าวหน้า และความสดใหม่
ของสินค้าได้
ปัจจัยที่มาสนับสนุนหรือมีส่วนช่วยบอกถึงบุคลิกของสินค้านั้น
คือ พรีเซ้นเตอร์ สัญลักษณ์ต่างๆ การจัดฉาก
กลยุทธ์การใช้สื่อที่ต้องคำนึงถึง
คือ การเข้าถึง ความถี่ การถ่วงน้ำหนัก
ความต่อเนื่อง และต้นทุน
แนวคิดในการทำโฆษณา
BDI บอกถึงความแข็งแกร่งของ Brand ถ้า CDI บอกถึงความแข่งแกร่งของ ประเภทสินค้านั้นๆ
BDI สูง CDI สูง
|
ดีทั้งประเภทของสินค้า และ Brand
|
BDI สูง CDI ต่ำ
|
Brand ได้รับการยอมรับ แต่
ลักษณะประเภทสินค้านั้นไม่ดี ทำโฆษณาดี
|
BDI ต่ำ CDI สูง
|
Brand ไม่ได้รับการยอมรับ
การโฆษณาอาจเสี่ยงต่อการลงทุนที่สุญเปล่า
|
BDI ต่ำ CDI ต่ำ
|
ตลาดนี้มีความเสี่ยงทุก Brand ไม่เหมาะแก่การโฆษณา ใดๆ ทั้งสิ้น
|
ข้อมูลต่างๆ ที่สรุปสามารถใช้ในการตอบคำถามของอาจารย์ทั้ง
2 ท่านได้
......................................................................................