วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ครูท๊อป กับ การสอน ICT




















 


วันนี้พี่ๆ ชั้นม.1 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Hardware เพิ่มขึ้น 2 อย่างคือ   SSD กับ VGA card
  รวมถึงการเรียนรู้ที่ไปที่มา เกี่ยวกับ Open source  และ Linux Ubuntu   รวมถึงการเรียนรู้ที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการและโปรแกรมเสริมภายใน  โดยเริ่มจากการ boot ด้วยการเข้า bios และ การเข้า  boot menu โดยเลือกที่จะ boot จาก CD-rom และขั้นตอนในการติดตั้งต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรระบบ

ตัวอย่างแผนการสอนแบบ PBL + บูรณาการ ชงเชื่อมใช้


หัวข้อเรื่อง Ubuntu ระบบปฏิบัติการที่ไม่กลัวไวรัส
สัปดาห์ที่ 18 ภาคเรียนที่ 1 
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  วันที่ 5 - 10 กันยายน 2554
 
เนื้อหาย่อย

ระบบปฏิบัติการ Linux Ubuntu

- ที่มา

- การติดตั้ง

- คุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจาก Windows

- การใช้งาน

- การติดตั้งไดร์เวอร์

- การใช้คำสั่งใน Bios ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ Boot จากแผ่น CD

- การใช้งานคำสั่งใน Terminal ของ Linux

เครื่องมือคิด
 
 
Key Question

   -เราจะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux Ubuntu ได้อย่างไร

Brainstorms

   - การระดมสมองศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้วร่วมกันลงมือปฏิบัติ ฝึกลงระบบปฏิบัติการ Linux Ubuntu 11.04 โดยการ Boot จากแผ่น CD

Think pair Share
    - การแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านการพูดนำเสนอ อภิปรายในชั้นเรียน

Mind mapping 
     - สรุปองค์ความรู้ที่นักเรียนได้ศึกษา


เป้าหมายย่อย ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ

- สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีเหตุผล (ง 1.1 ม.1/3)

- สามารถใช้ program software ต่างๆของระบบปฏิบัติการ Ubuntu ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้ (ง 3.1 ม.2/4)

- นักเรียนสามารถวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตาม กระบวนการทำงานเป็นกลุ่มได้ (ง 1.1 /ม.1/1 )

- นักเรียนสามารถใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ (ง 1.1 / ม.1/2)

- สามารถอธิบายหลักการทำงานและวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบปฏบัติการ Linux Ubuntu (ง 3.1

ม.2/2)

เวลาเรียนจำนวน 4 คาบ/สัปดาห์

กิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)

ชื่อกิจกรรม “ระบบปฏิบัติการใดที่ไม่กลัวไวรัส”

ขั้นนำ

- ครูทักทายพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับ อันตรายของไวรัส Computer ประโยชน์และคุณสมบัติพิเศษของระบบปฏิบัติการ Linux แบบสั้นๆ

- ปัญหาของการราคาลิขสิทธิ์ Software ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 7 ที่ค่อนข้างมีราคาแพง



ขั้นชง

- ครูใช้คำถามในการกระตุ้นการเรียนรู้ตั้งคำถามนักเรียนเช่นว่า “เมื่อเราประกอบคอมพิวเตอร์เสร็จแล้ว ทำอย่างไรเราถึงจะใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ โดยไม่เสียเงินสักบาท”

“ระบบปฏิบัติการที่นักเรียนเคยรู้จักได้แก่อะไรบ้าง”

“นอกจากระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows แล้วนักเรียนรู้จักระบบปฏิบัติการใดอีกบ้าง”

“ระบบปฏิบัติการที่ว่าคือ Ubuntu (Linux) แล้ว Ubuntu (Linux) มีข้อดีอย่างไร และแตกต่างจากระบบปฏิบัติการทั่วไปอย่างไร”

“ไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร”

“ระบบปฏิบัติการใดที่ไวรัสไม่สามารถเข้าถึงได้”

“ระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมที่ทุกคนสามารถนำไปปรับปรุงเขียนโปรแกรมพัฒนาต่อได้ เรียกว่าอะไร)

“ระบบปฏิบัติการ Linux Ubuntu สามารถเชื่อมต่อกับปริ้นเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่ อย่างไร”

“หากเราต้องการที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux Ubuntu เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง”



ขั้นเชื่อม


แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ Linux Ubuntu แล้วนำหัวข้อต่อไปนี้เป็นไปเขียนเป็นรากแก้วของ Mind mapping ของระบบปฏิบัติการ Linux Ubuntu นักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ Mind mapping ของตัวเองได้

หัวข้อมีดังต่อไปนี้

- ที่มา

- การติดตั้ง

- คุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจาก Windows

- การใช้งาน

- การติดตั้งไดร์เวอร์

- การจัดสรรทรัพยากรระบบ

- การใช้งานคำสั่งใน Terminal ของ Linux เพื่อ Format เครื่องในการลงระบบปฏิบัติการ Linux Ubuntu

จากนั้นตัวแทน 1 คนในแต่ละกลุ่ม (5 กลุ่ม)ได้ฝึกลงระบบปฏิบัติการ Linux Ubuntu 11.04 โดยการ Boot จากแผ่น CD ตามที่ได้ศึกษามา โดยมีครูคอมพิวเตอร์คอยแนะนำซึ่งตัวแทนกลุ่มจะต้องเข้าใจในการติดตั้งและใช้งานระบบปฏิบัติ Linux เพื่อที่จะสอนเพื่อนในกลุ่มในการลงระบบปฏิบัติการได้



ขั้นใช้

- ขณะทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux ตัวแทนกลุ่มจับภาพ

และถ่ายคลิปวิดีโอสาธิตการใช้คำสั่ง

และการติดตั้งระบบปฏิบัติการ พร้อมอัพโหลดลง Youtube และนำคลิปวิดีโอไปไว้ในเวปเพจของตัวเองใน Google site

- ตัวแทนกลุ่มแนะนำช่วยเหลือเพื่อนในการติดตั้งระบบปฏิบัติการให้เพื่อนทุกคนในกลุ่ม



ขั้นสรุป

- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากที่แต่ละกลุ่มได้นำเสนอ พร้อมชื่นชมนักเรียนที่ตั้งใจในการทำงาน



ภาระงาน / ชิ้นงาน Task



- ผลงานการติดตั้ง Ubuntu

- Mind mapping สรุปองค์ความรู้

- Google site ที่มีวิดีสาธิตวิธีการติดตั้งของตนเอง

- การตอบคำถามในชั้นเรียน


สื่อ / แหล่งเรียนรู้ Sources


- อินเตอร์เน็ต

- วีดีทัศน์

- ห้องสมุด

- ใบความรู้


การประเมิน Assessment


- การสังเกตจากความสนใจในการทำกิจกรรม

- การตั้งคำถาม /การตอบคำถาม

- ประเมินจากชิ้นงาน

(Rubric) - ประเมินการนำเสนองาน


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น