สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คือ
สถาบันทางเศรษฐกิจฐานรากที่จัดตั้งขึ้นจากการบูรณาการเชื่อมโยงการบริหารจัดการของกลุ่ม
องค์กร กองทุนการเงินต่าง ๆ ร่วมกันบริหารจัดการเงินทุนในชุมชนเพื่อให้เกิดการใช้เงินทุนในชุมชนอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด
วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน กลุ่ม องค์กร กองทุนการเงินชุมชน ให้มีประสิทธิภาพ และใช้ประโยชน์จากเงินทุนชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการบูรณาการด้านการบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นระบบ
เป้าหมาย เพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชน มีการบริหารจัดการกองทุนและเงินทุนในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
หน้าที่หลัก จัดระบบการบริหารจัดการกลุ่ม องค์กร กองทุนการเงินในหมู่บ้าน/ชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกกองทุนและชุมชน
ประโยชน์ : 1.กลุ่มองค์กร กองทุนการเงินในหมู่บ้าน/ชุมชน มีการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง (ร่วมกันบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ,ป้องกันการสูญหาย)
2.การบริหารจัดการกองทุนชุมชนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (แก้ไขปัญหาความยากจน(ปรับโครงสร้างหนี้) ,ชุมชนมีการจัดสวัสดิการ)
ที่มา : กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นสมาชิกและเป็นแกนนำในการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยทุกกลุ่มเป็นสมาชิกและยังดำเนินกิจกรรมของตนเองอยู่เช่นเดิม
ขั้นตอนการจัดตั้ง :
ขั้นตอนที่ 1 เผยแพร่แนวคิด แนวทางการดำเนินงานให้กับกลุ่มเป้าหมาย(ประธานกลุ่ม กรรมการ ผู้แทนองค์กรกองทุนชุมชน และผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคีการพัฒนา(ธนาคาร ธ.ก.ส./ออมสิน /องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น))
ขั้นตอนที่ 2 สำรวจวิเคราะห์ข้อมูลกองทุนชุมชน
ขั้นตอนที่ 3 ประชุมกลุ่มเป้าหมายในขั้นตอนที่ 1 เพื่อเตรียมการวางแผนการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน (กองทุนต่างๆที่เข้าร่วม,จัดหาสถานทีดำเนินการ ฯลฯ)
ขั้นตอนที่ 4 จัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยการประชุมประธานกลุ่ม/กรรมการ/ผู้แทนองค์กรกองทุนชุมชนที่ได้รับมอบอำนาจเป็นผู้แทนกลุ่มสมัครเป็นสมาชิกสถาบันฯ และผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคีการพัฒนา เพื่อดำเนินการ เลือกคณะกรรมการบริหาร ร่างระเบียบข้อบังคับ กำหนด/วางแผนการจัดทำกิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน กลุ่ม องค์กร กองทุนการเงินชุมชน ให้มีประสิทธิภาพ และใช้ประโยชน์จากเงินทุนชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการบูรณาการด้านการบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นระบบ
เป้าหมาย เพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชน มีการบริหารจัดการกองทุนและเงินทุนในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
หน้าที่หลัก จัดระบบการบริหารจัดการกลุ่ม องค์กร กองทุนการเงินในหมู่บ้าน/ชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกกองทุนและชุมชน
ประโยชน์ : 1.กลุ่มองค์กร กองทุนการเงินในหมู่บ้าน/ชุมชน มีการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง (ร่วมกันบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ,ป้องกันการสูญหาย)
2.การบริหารจัดการกองทุนชุมชนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (แก้ไขปัญหาความยากจน(ปรับโครงสร้างหนี้) ,ชุมชนมีการจัดสวัสดิการ)
ที่มา : กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นสมาชิกและเป็นแกนนำในการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยทุกกลุ่มเป็นสมาชิกและยังดำเนินกิจกรรมของตนเองอยู่เช่นเดิม
ขั้นตอนการจัดตั้ง :
ขั้นตอนที่ 1 เผยแพร่แนวคิด แนวทางการดำเนินงานให้กับกลุ่มเป้าหมาย(ประธานกลุ่ม กรรมการ ผู้แทนองค์กรกองทุนชุมชน และผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคีการพัฒนา(ธนาคาร ธ.ก.ส./ออมสิน /องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น))
ขั้นตอนที่ 2 สำรวจวิเคราะห์ข้อมูลกองทุนชุมชน
ขั้นตอนที่ 3 ประชุมกลุ่มเป้าหมายในขั้นตอนที่ 1 เพื่อเตรียมการวางแผนการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน (กองทุนต่างๆที่เข้าร่วม,จัดหาสถานทีดำเนินการ ฯลฯ)
ขั้นตอนที่ 4 จัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยการประชุมประธานกลุ่ม/กรรมการ/ผู้แทนองค์กรกองทุนชุมชนที่ได้รับมอบอำนาจเป็นผู้แทนกลุ่มสมัครเป็นสมาชิกสถาบันฯ และผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคีการพัฒนา เพื่อดำเนินการ เลือกคณะกรรมการบริหาร ร่างระเบียบข้อบังคับ กำหนด/วางแผนการจัดทำกิจกรรมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
ที่มาเพิ่มเติม
www.villagefund.or.th
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น