วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564

รู้ – วาง การภาวนา โดยการหายใจเข้าว่า “รู้” หายใจออกว่า “วาง”

 

รู้ – วาง

(ยันต์รู้ - วาง)


          การภาวนา โดยการหายใจเข้าว่า “รู้”

หายใจออกว่า “วาง” 

เนื่องจากจริตนิสัยของแต่บุคคล ย่อมแตกต่างกัน การภาวนา บริกรรมว่า พุทโธก็ดี สัมมาอรหันต์ก็ดี นะมะพะธะ ก็ดี ล้วนเป็นการฝึกสติ เพื่อให้จิตตั้งมั่น จิตรวมเป็นสมาธิ เพื่อใช้ในการเจริญวิปัสสนาต่อไป

เหตุผลว่าทำไม ตัวของผู้เขียนถึง ไม่สามารถภาวนาพุทโธได้  เพราะภาวนาแล้วรู้สึกมันแน่นๆ เหมือนโน๊ตดนตรี  พุทโธ โธ มันเสียงสูง พุทเสียงกลาง ตีออกมาโน๊ต ก็ มี - ที หรือ มี - โด๊(สูง)

แต่รู้ - วาง เสียงมันจะกลาง ไปต่ำ หรือเรียกว่า  มี โด(ต่ำ) หรือซอน โด(ต่ำ)

จิตใจไม่สงบเท่าที่ควร แต่พอ ภาวนา รู้วาง  แล้วจิตใจสงบนิ่งตั้งมั่น ใจเย็น

พุทธะพุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ย่อง่ายๆว่ารู้

แต่เมื่อรู้แล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือวาง  อุเบกขา คือความวางเฉย วางในที่นี้หมายถึง สักแต่ว่ารู้ แต่ว่าเห็น แล้วก็ปล่อยมันไป ไม่ต้องคิดถึงมัน ให้มันเป็นทุกข์ ให้จิตใจมันขุ่นวิตกกังวลเกินไป

ประสบการณ์โดยตรง  ภาวนา รู้ – วาง ตลอดทั้งวัน  คิดไปด้วย ว่ารู้อะไร แล้วก็วางมัน

จิตคิดอันนั้นอันนี้ ขึ้นมา ก็รู้ ว่ามันนึกมันคิด แล้วก็วางมันลง สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ปล่อยวางอารมณ์ มีสติอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับกายอยู่กับใจอยู่กับจิต อยู่กับเวทนา ปวดก็รู้ว่าปวด เมื่อยก็รู้ว่าเมื่อย นั่งนานก็เมื่อย ก็ทุกข์ รู้ว่าเมื่อย รู้ว่าทุกข์  รู้ – วาง รู้ – วาง ไปเรื่อยๆ

เจริญเมตตา กรุณา มุธิตา อุเบกขา  ซึ่งเป็นวิหารธรรมของพรหม เรียกว่า พรหมวิหาร 4  เจอสิ่งที่ไม่พอใจ ให้อุเบกขา  เจอสิ่งที่ต้องช่วยเหลือต้องเมตตา กรุณา เจอบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ต้องมุธิตา พลอยยินดี ไปกับเขา แม้ว่าเราจะไม่ใช่พระอรหันต์ แต่ก็เอาพรหมวิหาร 4 ข่มจิตข่มใจตัวเองไปเรื่อยๆ ขัดเกลากิเลสภายในใจให้เบาบาง ต้องปล่อยวาง ต้องมีเมตตา ต่อสรรพสัตว์ ต่อเพื่อนมนุษย์ แม้แต่ต่อศัตรูผู้ปองร้าย ถือว่าเราเป็นคู่กรรมคู่เวรเขามาแต่ชาติปางก่อน ควรให้อภัยเขา แล้วบอกว่าเจ้าไปซะ ต่างคนต่างอยู่ ก็เมตตาเขา อภัยเขา อุเบกขาให้กับเขา

มันจะมีบางครั้งที่ผัสสะกระทบแรง จากรูป เสียง กลิ่น รส อารมณ์ ยินดี ยินร้าย มีคนมาด่า มาว่า มาตีแรงๆ อย่าไปโกรธ ไปเกลียด ไปคิดแก้แค้นเขา อภัยได้ควรอภัย ใช้คำบริกรรม รู้ – วาง รู้ – วาง ไปเรื่อยๆ มันจะพูดอะไรมา เราก็ รู้ – วาง รู้ – วาง ไปเรื่อยๆ เราก็สงบเอง  อย่าไปเถียงให้มากความ  สงบระงับภายในจิตใจเราดีกว่า ไม่พูด ไม่โต้ตอบ  เพียงแค่ครับๆ แล้ว รู้ – วาง

รู้ – วางไปเรื่อยๆ ความโกรธนั้น ก็จะระงับไป เรื่องราวก็จะไม่ใหญ่โต ก็ปล่อยผ่านเรื่องราวนั้นไป

มันก็เป็นเพียงเรื่องที่เรา สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ในวันๆ หนึ่งเท่านั้นเอง 

ทุกๆอย่างที่เรา รับรู้ผ่านอินทรีย์ อายตนะ ทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ(ธรรมารมณ์) รวมถึงแม้แต่เวลาที่จิตเราคิดด้วย เราก็ต้องรับรู้  มีสติ รู้ ตลอดเวลา คอยตามรู้ ตามเห็น ตามความเป็นจริง  การตามรู้ ตามเห็น ตามความเป็นจริง และมีสติตลอดแบบนี้เรียกว่าวิปัสสนา

หิว ก็รู้ ร้อนก็รู้ รู้สึกรัก รู้สึกชอบ ก็รู้  ความคิดส่งออกนอก ก็รู้ มองเห็นรถ ก็รู้ มองเห็นคนก็รู้

ได้ยินคนพูดก็รู้  รู้ แล้ว วาง สักแต่ว่า รู้  สักแต่ว่าเห็น

เพราะวันเวลาเดินไปเรื่อยๆ ถ้าเรามัวแต่กอดอดีตเราจะสูญเสียอนาคต จมอยู่กับอดีต

จมอยู่กับความโกรธในอดีต

อย่างที่พระท่านว่า  เขาพูดไม่กี่คำ  เราเอากลับมาคิด เอากลับมาโกรธเป็นวันสองวัน มันใช้ได้เหรอ

 ควรแสวงหาความสันโทษ เพื่อปฏิบัติให้หลุดพ้น  อยู่กับงาน อยู่กับบ้าน อยู่กับเมือง มากเกินไป มันสงบยาก  เดี๋ยวเพื่อนชวนไปกินข้าว ไปสังสรรค์ ไปกินเหล้า

เหล้าเข้าปากมา  สติ สตางค์ หายหมด

ที่พระพุทธเจ้าบรรหยัดศีล 5 ไว้ เพื่อที่จะให้เรามีสติ เพื่อมาใช้ในการเจริญภาวนา กินเหล้าเมา สติ สมาธิหายหมด  อุตส่าห์ รวมสมาธิมาไว้ตั้ง 5 วัน วันที่ 6 กินเหล้า สมาธิ ฌาณหายจ้อย ตื่นมาปวดหัวอีก โลกหมุนติ้ว มึนหัว กว่าจะจับจุด กว่าจะมาเริ่มใหม่อีก ไม่จบไม่สิ้น

กลับมา อยู่กับตนเอง อยู่กับ รู้ – วาง

รู้ – วาง รู้ – วาง ไปเรื่อยๆ

นั่งหลับตา รู้วาง รู้วาง ไปเรื่อยๆ  นั่งบนเก้าอี้ นุ่มๆก็ได้ หรือจะนั่งขัดสมาธิก็ได้

นั่งเก้าอี้นุ่มๆ หย่อนขา มันก็เหมือน กินส้มตำไม่เผ็ด

นั่งสมาธิ กับพื้นปูน แข็งๆ มันก็เหมือนกันการกินส้มตำ เผ็ดๆ  มันกินเข้าไปได้ไม่นานหรอก มันเผ็ดมันแสบมันร้อน

แต่ถ้านั่งเก้าอี้นุ่มๆ ในอากาศถ่ายเท สบายๆ ไม่ร้อน ห้องแอร์ก็ได้ เย็นๆ สบายๆ หลับตา นั่งไปเรื่อยๆ

หลับตา หายใจเข้า   รู้

หายใจออก  วาง

 รู้ – วาง รู้ – วาง รู้ – วาง ไปเรื่อยๆ

แรกๆสติไม่ดีเลยให้นับ   รู้ – วาง 1 รู้ – วาง 2 นับไปจนถึง 100 พอสติมันแข่งแกร่งแล้วก็มารู้ – วาง รู้ วางเฉยๆ ไม่ต้องนับ

จะเดินจงกรม ซ้าย รู้ ขวา วาง หรือขวา รู้ ซ้าย วางก็ได้ แล้วแต่ ถนัด  ก้าว ซ้าย หายใจเข้า ก้าวขวา หายใจออก  หรือ จะไม่ดูลมหายใจก็ได้  ซ้าย รู้ ขวา วาง อย่างเดียวก็ได้

จุดเทียนไว้ ทางจงกรม ต้นทาง ดอกนึง ปลายทาง ดอกนึง  เดินค่ำๆ 2 ทุ่ม อากาศเย็นๆ สงบๆ เงียบๆ ในป่า ในวัดป่า บรรยากาศตอนฝนตก เสียงจิ้งหรีด เสียงนก เสียงธรรมชาติ เสียงลม

เราก็รับ รู้ แล้วก็ รู้ วาง รู้ วาง ไปเรื่อยๆ เมื่อเกิดความกลัวภายในจิตใจ ก็ภาวนาไป รู้ – วาง รู้ – วาง รู้ว่า กลัว ก็ดูมัน มันจะกลัวไปถึงไหน ผีมึงมาว่ะ  มีสองอย่างละวะ ไม่สู้ ก็วิ่ง

ผู้สอนก็เคย เจอมากับตัว แต่ไม่เจอเป็นกายเนื้อ  เข้ามาหาที่กุฏฏิตอนบวชเป็นพระ กุฏฏิไม้ ไม้ก็แอ่นลง แอ๊ดๆ ผมก็สู้ บอกวันนี้ไม่สบาย ไม่ได้ปฏิบัติธรรม

เพราะผีเฝ้ากุฏิ ตนนี้ ชอบให้เราปฏิบัติ ชอบให้เราสวดมนต์  เราก็หันหลังใส่ นอนทำเป็นไม่สนใจ

มีวันหนึ่งมา ผมก็เทศนา สอนไปเลย  เราต้องสอนเขานะ  ให้เขาไปผุดไปเกิด หรือบางทีเขามาขอส่วนบุญของการช่วยเหลือ ให้ศีลให้พรเขาไป เขาก็ไปนะ แผ่เมตตา  มีบางวัน ก็เทศนาน  ถ้ามีคนเดินไปที่กุฏฏิ คงหาว่าพระองค์นี้บ้าแน่เลย เทศน์คนเดียว  ก็ให้มันรู้ไปสิ ว่าผีมีจริงไม่มีจริง อยากรู้ก็ไป จุดที่เฮี้ยนที่สุดในวัด กุฏิหน้าถ้ำ เคยไปอยู่ เฮี้ยนจริงนอนไม่ได้ ถ้านอนได้ยินเสียงคนมาเดินรอบกุฏิตลอด  ต้องลุกมานั่งสมาธิ สวดมนต์ เดินจงกรม ตลอด ตอนบวชอยู่กุฏนั้น นอนวันนึงแค่ 2-3 ชั่วโมงเอง นอนเที่ยงคืน ตื่นตีสามตีสี่ ภาวนา ก็เหนื่อยเหมือนกัน แต่ตอนที่รวมจริงๆ คือตอนที่ภาวนาหลังจากทำวัตรเย็น ที่ศาลาใหญ่  พระองค์อื่นไปหมด เหลือเราอยู่คนเดียว จุดเทียน นั่งภาวนา  ยึดเก้าอี้หวาย พระอาจารย์ นั่งภาวนา ทำสมาธิอยู่คนเดียว

มาต่อที่การภาวนา

หายใจเข้ารู้ หายใจออกวาง

หลับตา  รู้ – วาง

รู้ – วาง ไปเรื่อยๆ

จะเห็นแสง เห็นนิมิต อะไรก็รู้ – วาง รู้ – วาง

อย่าไปสนใจนิมิต หรือแสงอะไร ตามมากๆ จะพาให้วิปราศได้

แค่รู้ – วาง รู้ – วาง แค่นั้น

จะคิดอะไร ก็รู้ จะกลัวอะไรก็รู้  จะคิดถึงใคร ก็รู้  คิดถึงคนนั้น คิดถึงคนนี้ คิดถึงคนที่ตายไป ก็รู้ แล้ว วาง อย่าไปคิดถึงเขามากเดี๋ยวเขาจะมา รีบวางเลย

แผ่เมตตาให้เขามากๆ บอกให้เขาปล่อยวาง จากกายสังขาล จากความสัมพันธ์ ญาติ พี่น้อง พ่อแม่ปู่ย่าตายาย เราต้องรีบให้เขาไปจุติเป็นเกิดเป็นมนุษย์ สวรรค์ หรือเขาไปนิพพานได้ให้เขาไป

เรา ก็ต้องปล่อยวาง เพราะมันเป็นธรรมดาของสัตว์โลก มีอนิจจัง ความไม่เที่ยง

ทุกข์ขัง ความเป็นทุกข์  อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความว่างเปล่า

ภาวนาให้รู้ไป ให้รู้ ให้เห็นตามความเป็นจริง

รู้ – วาง รู้ – วางไปเรื่อยๆ

สักพักเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว  รู้ – วาง หายหมด จะอยู่เพียงนิ่งๆว่าง อยู่กับลมหายใจ เข้าออก

จากนั้นให้ยกข้อธรรม ขึ้นมาวิตก ขึ้นมาวิจารณ์ เพื่อให้ได้ รู้ ได้เห็น ตามความเป็นจริง

กาย มันเป็นทุกข์ขัง อนิจจัง อนัตตา  มันทุกข์ยังไงก็ไปคิดไปไตร่ตรองดู

เวทนา มันเป็นทุกข์ขัง อนิจจัง อนัตตา  มันทุกข์ยังไงก็ไปคิดไปไตร่ตรองดู

จิต มันเป็นทุกข์ขัง อนิจจัง อนัตตา  มันทุกข์ยังไงก็ไปคิดไปไตร่ตรองดู

ธรรมารมณ์ มันเป็นทุกข์ขัง อนิจจัง อนัตตา  มันทุกข์ยังไงก็ไปคิดไปไตร่ตรองดู

ยังไม่ลง ยังไมพ้น ก็นั่งไล่ไปเรื่อยๆ ตามตัวเองอยู่ตลอดว่า  เราเกิดมาทำไมว้า กูเกิดมาทำไมว่า กูเกิดจากอะไรว่า การเกิดดีไหมว่า ทำไมต้องแก่ว้า ทำไมคนต้องตายว้า ตายแล้วไปไหนว้า ไตร่ตรองไปเรื่อยหาข้ออรรถ ข้อธรรม ที่อาจเคยได้ยินได้ฟังเป็นสัญญา พิจารณาไป

รูป นาม  รูปเวทนา สัญญา สังขาล วิญญาณ อายตนะ ผัสสะ ถ้าจำวงปฏิจสมุทบาท ได้ก็ไล่ไป คิดตรึกตรองไปเรื่อยๆ ว่า เกิดมาทำไม ทำไมแก่ ทำไมเจ็บ ทำไมตาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง

ไล่ไปเรื่อยๆ ผมไม่อยากบอกคุณหมด บอกหมดมันจะกลายเป็นแค่สัญญา คือความจำหมายรู้

เพราะสิ่งนี้เป็นธรรมะ ธรรมดา ของธรรมชาติ ที่พระพุทธเจ้าไปรู้ ไปเห็นมา แล้วมาบอกพวกเรา

เราอยากไปนิพพาน ศีล สมาธิ ปัญญา ทุกอย่างต้องเต็ม  วิริยะ ศรัทธา จิตตะ พละ โพณชงค์ 7 ต้องครบ เหมือนรถเดินทางไกล ต้องเตรียมสเบียงให้ครบ บอกกับตนเองว่ากูพร้อมแล้วโว้ย กูจะไม่เกิดอีกแล้วโว้ย แล้วก็ซัดกับมันเลยกิเลส ความขี้เกียจ ขี้คล้านภายในจิตใจเรา เราต้องขัดมัน

อัดมันเราไป ราคะ โทสะ โมหะ คิดไม่ออกก็มาเดินฌาน เดินสมถะ บริกรรมรู้ – วาง รู้ – วาง จนจิตสงบนิ่ง เข้าฌาน สว่างสดใส จิตใจฮึกเหิม ได้กำลังก็กลับไปอัดมันใหม่  วิตก วิจารณ์ ไปเรื่อยๆ ไตร่ตรองคร่ำครวญ ในโจทย์ที่โลกนี้สร้างมาให้เรา  ทำไมข้อนี้มันยากจัง เราต้องแก้ ต้องหาสูตร ถอดรหัสมันออกมาให้ได้ แก้ได้ ก็จบงาน ได้ไปนิพพาน แก้ไม่ได้ ก็เกิดตาย เกิดตายอีกหลายร้อยชาติ พันชาติ วนเวียนในวัฏฏะสงสาร ไม่รู้จบไม่รู้สิ้น

ข้ามเวทนาไปให้ได้ ข้ามตายไปให้ได้ สู้จนเวทนาหายไป จะข้ามพ้นสู่ความเป็นอกาลิโก

เวทนาหายไป ใจสั่นเต็มที่ ระเบิดเปรี้ยง แสงสว่างจ้า  แขนขา หายหมด ตัวตนหายหมด พบกับสุญญตา อันไม่มีกาลเวลา

เอาไปปฏิบัติกัน รู้ – วาง รู้ – วางไป

ใช้ได้ทั้ง สมถะ และวิปัสสนา หรือจะเดินไปพร้อมกัน ทั้งสมถะ และวิปัสสนา

 


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น