ใบ “โพธิ์” เป็นสัญลักษณ์แห่ง “พุทธะ” เพราะเป็นดั่งเครื่องหมายที่บ่งบอกถึง “การรู้ ตื่น และเบิกบาน” เหนือกาลเวลา ด้วยเหตุนี้ การเกิดขึ้นของต้นโพธิ์ จึงหมายถึงการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าและการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าก็เปรียบได้กับการเกิดขึ้นของใบโพธิ์ เช่นกัน
ในพระไตรปิฏก พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 25 ขุททกนิกาย โคตมพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 28 พระนามว่า พระโคตมพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรประพฤติทุกรกิริยาอยู่ 6 ปี จึงได้ประทับตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ควงไม้อัสสัตถะ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชลา ซึ่ง “ต้นอัสสัตถะหรืออัสสัตถพฤกษ์” รู้จักกันดีในชื่อของ ต้นโพธิ์หรือพระศรีมหาโพธิ์ นับได้ว่าเป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธประวัติอีกชนิดหนึ่ง เพราะเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารในระหว่างบำเพ็ญเพียรภาวนาเพื่อค้นหาสัจธรรมนั้น พระองค์ได้ทรงเลือกนั่งประทับที่โคนต้นโพธิ์จนกระทั่งพระองค์ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ คือ อริยสัจ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ขณะที่กรอบแนวคิดที่เป็นดั่งสายป่านส่งต่อให้ชาวพุทธเข้าใจถึงสัจจธรรมของต้น “โพธิ์” เพราะเป็นสัญลักษณ์แห่ง “พุทธะ” คือ การรู้ ตื่น และ เบิกบาน เพื่อให้เราก้าวย่างให้ถึงซึ่งสามสิ่งนี้
1. การรู้ หมายถึง รู้ว่าอะไรเป็นอะไ รชีวิตนี้เกิดมาทำไม การที่พระพุทธเจ้าได้ใช้ “ปัญญา” เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นปัญญาที่หลุดพ้นจากกิเลสและอวิชชา และบัญชาชีวิตของพระองค์มาหลายร้อยชาติ
2. การตื่น หมายถึง ละเลิกจากการใช้ชีวิต ด้วยความโลภ โกรธ หลง การที่พระพุทธเจ้าทรงมีดวงจิตที่เปี่ยมไปด้วย “สติ” ความระลึกได้และรู้สึกตัว ตื่นจากความหลับไหล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตื่นจากกิเลสที่เป็นเครื่องร้อยรัดให้ลุ่มหลงและมัวเมา
3. การเบิกบาน หมายถึง ออกจากความโลภโกรธ หลง ดั่งเช่น สภาพจิตของพระองค์ได้ “เบิกบาน” เพื่อรองรับสายธารแห่งสัจธรรมความจริง ซึ่งเปรียบได้ดั่งบัวบานไม่มีวัน “หุบ” ไร้ซึ่งความมืดมัวแห่งอวิชชาที่จะเข้ามาครอบงำจิตใจ
เรียบเรียงโดยเพจ ภาพใบโพธิ์ ZenKa
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น