วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปัจจัยส่งส่งผลต่อประสิทธิของ supply chain

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดใน Supply Chain
1. Inventory คือทรัพย์สินที่มีอยู่ในงบดุล แต่ว่าจริงๆ แล้วควรจะมองเป็นหนี้สิน ที่ไม่ควรมีไว้มาก ซึ่ง Inventory มีอยู่ในโซ่อุปทาน เป็น Buffer ไว้รองรับความแตกต่างระหว่าง Supply และ Demand ที่ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นทั้ง Supplier, Manufacturer, Transporter, Distribution, Centers และ Retailer ควรจะมี Inventory ไว้ในบางครั้ง Inventory มีหลายรูปแบบ ทั้งวัตถุดิบ ชิ้นส่วน งานที่อยู่ในกระบวนการการผลิต สินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว Inventory จะช่วยเพิ่มระดับการบริการลูกค้าโดยการมี สต็อกสินค้าไว้พร้อมสำหรับตอบสนองการสั่งซื้อทันที ที่ลูกค้าหรือคู่ค้าต้องการ นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ในการผลิตในการให้ Manufacturer, Supplier สามารถผลิตสินค้าทีละมากๆ ได้
แต่ในทางกลับกันถ้าเรามี Inventory ไว้มากๆ เราก็จะเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น Inventory จะมีประโยชน์ทางด้าน การตอบสนอง แต่จะด้อยในด้าน ความคุ้มค่าเนื่องจากจะเพิ่มค่าใช้จ่าย เพราะจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ สินค้าที่ควรจัดเก็บนานๆ คือเหล็ก เพราะมี product life cycle ที่ยาวนาน  ที่ไม่ควรจัดเก็บคือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไอที มี Product life cycle ไม่กี่เดือน รถยนต์ มี product life cycle 1 ปี
2. Transportation เป็นการเคลื่อนย้าย Product ระหว่างคู่ค้า และมีผลกระทบกับโซ่อุปทานมาก การขนถ่ายสินค้าอย่างรวดเร็วจะเพิ่ม Response Time ในขณะที่ ขนาดในการผลิต (Batch Size) สามารถที่จะเพิ่มและ ลดค่าใช้จ่ายได้ ยังมี Routing Software ที่ใช้โมเดล ทางคณิตศาสตร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจคำนวณหา ปริมาณสินค้า และเวลาที่ใช้ในการขนย้าย นอกจากนี้ การขนส่งที่ดีจะช่วยให้เกิด Cross-Docking, Boned Warehousing, Customs Clearance ปัจจัยที่ในการเลือกช่องทางขนส่ง 1. cross country หรือไม่ 2. ระยะทาง 3. ค่าใช้จ่าย 4. ระยะเวลาในการเดินทางที่แน่นอน 5. Product life cycle 6. การตอบสนองความต้องการผู้บริโภคช้า - เร็ว 7. เป็นออเดอร์พิเศษปลายทางคือลูกค้าหรือ ส่งไปเก็บใน warehouse
3. Facility พูดถึงเรื่อง warehouse, store ถ้า Inventory หมายถึงสิ่งที่เคลื่อนย้ายและ Transportation เป็นการขนส่งอย่างไร ดังนั้น Facility คือ ที่ที่ Inventory เคลื่อนย้ายไป Facilities จะทำให้ Inventory เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับ ตัวมันเองระหว่างผ่านกระบวนการการผลิต จัดเก็บ แล้ว จัดส่งไปยัง Facilities อื่นๆ ต่อไป การจัดเก็บอย่างเป็นระบบ มีการรักษาความปลอดภัยของตัวสินค้า ไม่ให้เน่าเสียหรือเสียหาย จากน้ำหรือแมลง มีการจัดเรียง FIFO LIFO หรือเรียงจากต้นทุนสินค้า ใช้พื้นที่โกดังได้อย่างคุ้มค่า การวางเลย์เอาส์ การแยกประเภทสินค้าชัดเจนและสามารถตรวจสอบจากคอมพิวเตอร์ได้ มีการนำบาร์โคต serial tag RFID ในการระบุชนิดสินค้าเพื่อความรวดเร็วถูกต้องในการส่งมอบสินค้า
4. Information ปัจจุบันได้มีการนำ IT เข้ามาใช้ Information ได้ ทำให้ส่วนต่างๆ ของ Supply Chain เข้าด้วยกัน ไม่ว่า จะเป็นธุรกรรมต่างๆ ลดเวลาและต้นทุน เพิ่มระดับของ การบริการลูกค้า และผลกำไร ข้อมูลที่ผู้ผลิตต้องการรู้ได้มาจากข้อมูลที่ส่งมาจาก ผู้บริโภค (หรืออีกด้านหนึ่งของโซ่อุปทาน) ความต้องการจากผู้บริโภคจะเป็นตัวส่งสัญญาณให้กับการเติมสินค้า ให้กับศูนย์กระจายสินค้า เมื่อศูนย์กระจายสินค้าถึงจุด Re-Order Point จะมีสัญญาณส่งไปยัง Master Production Schedule (MPS) ที่ส่วนของโรงงานผลิต สิ่งนี้คือมาตรฐานของ Distribution Requirement Planning (DRP) ซึ่ง ERP Software ส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชันนี้ เป็นมาตรฐาน ผู้ดำเนินการ MPS จะเป็นคนทำความ สมดุลระหว่าง Supply และ Demand ภายในโรงงานผลิต ถ้า Net Requirement สำหรับสินค้านั้นเกิดขึ้น จะมีการวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ เพื่อป้อนไปยัง MRP Engine กระบวนการ MRP ก็จะมี Bill of Material ทีละขั้น ทีละขั้น การ Generate Manufacturing Order สำหรับการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ และชิ้นส่วนย่อย แล้ว Purchase Order ก็จะถูกส่งไปให้กับ Supplier นี่คือ ภาพรวมของ MPS และ MRP นี่เป็นจุดกำเนิดและ เป็นส่วนของระบบ ERP ทั้งหมดในปัจจุบัน
Supply chain Profitability = (Responsiveness + Efficiency)/Cost

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น