วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

ตัวอย่างคำถามพฤติกรรมสมองของบลูม

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการเล่านิทานและทฤษฎีของ Bloom

ประชุมครูใหม่ในวันนี้ มีสองประเด็นใหญ่คือเทคนิคการเล่านิทาน และ ทฤษฎีสมองของบลูม


1. การเล่านิทาน   คือนวัตกรรมการสอนที่สำคัญของครู  เป็นการเตรียมเข้าสู่บทเรียนที่ดี
   ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง
    - ท่าทางครู น้ำเสียง สูง ต่ำ การเน้นเสียง ต้องน่าสนใจ
    - การแสดงสีหน้า อารมณ์ของครู
   - บรรยากาศโดยรอบ เพื่อให้เด็กอยากฟังมากยิ่งขึ้น
    - ให้เด็กมีส่วนร่วม  ไม่สรุปให้เด็ก
    - การถามคำถามปลายเปิด แนวนอบน้อม
    - การจับหนังสือ - หนังสือไม่หยุดนิ่ง
    - การนั่งของครู
    - ไม่จำเป็นต้องเล่าตามหนังสือทั้งหมด  ใช้ภาษาของเราด้วย
    - การปฏิสัมพันธ์แนวราบ
    - การเลือกนิทาน  นิทานต้องมีสีสันสวยงาม เนื้อหาเหมาะสมกับวัยของผู้ฟัง  ไม่ยาวจนเกินไป
    - การเตรียมตัวก่อนเล่า

2. พฤติกรรมสมอง ของบลูม
   เริ่มต้นจากการจำ 
   -สู่การเข้าใจ การเข้าใจคือการตีความได้ สามารถสรุปเนื้อเรื่องเป็นคำพูดของตัวเองได้ 
   - การประยุกต์ใช้  เช่น เรียนเรื่องดอกเบี้ย  กลับบ้านไปสามารถคิดดอกเบี้ยคนกู้ให้พ่อได้ เป็นต้น
  - การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ การให้ความเห็น  ให้เหตุผล
   - การสังเคราะห์  การรวมเป็นสิ่งใหม่  เช่น การนำ รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม มาต่อกันให้เป็นรูปใหม่
   - การประเมินค่า  การตัดสิน การวิจารณ์  ดีหรือไม่ดี  ใครดีกว่ากัน เห็นด้วยหรือไม่ เป็นต้น
   - การสร้างสรรค์ คือการทำให้เกิดสิ่งใหม่

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ถามตอบตามหลักเหตุและผลของครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา



. ทำไมครูต้องไหว้ทักทายกัน
    • เป็นวัฒนธรรมขององค์กร ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย
. ทำไมครูต้องมาทำงานแต่เช้า
    • เพื่อพบปะพูดคุยกับผู้ปกครอง สร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง อีกทั้งการมีปฏิสัมพันธ์กันนักเรียน
    • เพื่อมาปฏิบัติหน้าที่เวรหน้าประตู
    • เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะสอนแต่เนิ่นๆ ไม่เร่งรีบ มีเวลาทบทวน และวางแผนในวันนี้
    • รับอากาศบริสุทธิ์ สดชื่น สมองปลอดโปร่งจิตใจเบิกบาน
. ทำไมครูต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย
    • เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจในการทำกิจกรรม กระตือรือร้นอยากเรียนรู้
. ทำไมครูจึงมีสมุดสื่อสารถึงผู้ปกครอง
    • เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องกับผู้ปกครอง และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน
. ทำไมครูต้องมีการประชุมเป็นประจำทุกสัปดาห์
    • เพื่อ ทบทวนงาน พัฒนางาน ร่วมกัน แสดงความคิดเห็น สร้างสรรค์งานอย่างหลากหลาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปัญหา ข้อเสนอแนะ เพื่อหาแนวทางแก้ไข แนวคิดและกิจกรรมในการพัฒนาผู้เรียน
    • ครูทุกคนจะได้รู้ความเคลื่อนไหวสิ่งที่เกิดขึ้น
    • เป็นการสร้างเวทีให้ครู
    • เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ
. ทำไมครูไม่ดุ ไม่ตี เปรียบเทียบ ตะคอกใช้ความรุนแรง
    • เพราะการตี การดุด่าจะทำให้เด็กหวาดกลัวและบางครั้งเด็กจะไม่ยอมรับในพฤติกรรมของครูและจะไม่ทำให้เด็กก้าวร้าว
    • เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนา ได้ การดุตีใช้ความรุนแรงทำให้เด็กเกิดการต่อต้าน หวาดกลัว ส่งผลให้สมองปิดการเรียนรู้ ลดคุณค่าในตนเองและการเปรียบจะเป็นการตีตรา และเป็นบ่อเกิดแห่งความอิจฉา
. ทำไมครูตรวจงานจึงไม่มีคะแนนและดาว
    • เพื่อไม่ให้มีการเปรียบเทียบเด็กทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน
. ทำไมต้องจัดตารางเวรให้ครูยืนรับผู้ปกครอง – นักเรียน ขณะมารับ – ส่ง
- เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนหรือผู้ปกครอง และได้รู้จักนักเรียนหรือผู้ปกครองในชั้นเรียนอื่นๆ
. ทำไมครูต้องออกเยี่ยมบ้านนักเรียน
- เพื่อให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้พฤติกรรมของนักเรียน ขณะอยู่ที่บ้านและโรงเรียน
๑๐. ทำไมต้องมีการพัฒนาครูใหม่อย่างต่อเนื่อง
    • เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางและวัฒนธรรมขององค์กร
๑๑. ทำไมต้องมีการจัดการเรียนการสอนบูรณาการโดยโครงงาน
    • เพื่อส่งเสริมการคิด และทักษะการแสวงหาความรู้ เรียนรู้เพื่อความเข้าใจ
๑๒. ทำไมครูไม่ได้มีหน้าที่สอนอย่างเดียว ต้องมีหน้าที่อื่นด้วย
- เพื่อจะได้เรียนรู้งานอื่นอย่างหลากหลาย และพัฒนาตนเอง
๑๓. ทำไมครูจึงไม่มีการอบรมหน้าเสาธง
    • อบรมตอนเช้าเด็กจะไม่ฟัง การบอกข่าวสาร การส่งเสริมวินัยเป็นหน้าที่ของครูประจำชั้น
๑๔. ทำไมครูจึงไม่มีการสรุป ข้อคิดหลังจากเล่านิทานจบ
    • เพื่อฝึกให้เด็กแสดงความคิดเห็น ถาม-ตอบ เกี่ยวกับนิทานที่ฟัง
๑๕. ทำไมครูจึงใช้เสียงอย่างธรรมชาติและท่าทีที่เป็นกัลยาณมิตร
- ยิ่ง ครูพูดเสียงดังเด็กก็จะไม่ฟัง ทำให้ครูไม่เจ็บคอ เสียงโมโนโทนเข้าถึงจิตวิญญาณข้างในและมีเด็กได้รับท่าทีจากครูที่เป็น กัลยาณมิตรผู้เรียนก็จะเปิดรับสิ่งที่ครูนำเสนออย่างเต็มที่และตั้งใจ
๑๖. ทำไมครูไม่ชี้ผิด ชี้ถูก เมื่อเด็กทะเลาะกัน
- เพื่อให้นักเรียนรู้จักโยนิโส (น้อมนำทบทวนตนเอง) เปิดโอกาสให้เด็กทั้งสองคนได้พูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจในสิ่งที่กระทำ
๑๗. ทำไมครูต้องพูดเสียงเบา
- ถ้า พูดด้วยน้ำเสียงที่ดัง ตะคอกใส่อารมณ์ ฉุนเฉียวจะทำให้สมองเด็กปิดการเรียนรู้ ครูก็เหนื่อย หงุดหงิด เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล่องเสียง
    • เด็กจะได้ตั้งใจฟัง และมีสมาธิจดจ่อกับเรื่องที่ครูพูด
    • เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและเด็ก
๑๘. ทำไมครูต้องเล่นกับเด็ก
- ลดช่องว่างระหว่างครูกับเด็ก สร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้เข้าใจและเห็นคุณค่าเด็กแต่ละคน เป็นการสอน/เรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติระหว่างครูกับเด็ก (มีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่สามารถถ่ายทอดความเป็นมนุษย์สู่มนุษย์ได้)
๑๙. ทำไมครูถึงไม่บอกคำตอบเด็ก
    • เพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการคิดเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
    • เพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากหาคำตอบด้วยตนเอง (ไม่รอคำตอบจากครู)
    • ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดเพียงคำตอบเดียวเสมอ
    • ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้จากผู้อื่น
๒๐. ทำไมครูต้องมาทานข้าวเช้าร่วมกัน
    • อาหารเช้าเป็นอาหารมื้อสำคัญที่สุด
    • สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครู และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างไม่เป็นทางการ
๒๑. ทำไมต้องมีกีฬาและกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์
    • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน เพื่อความเป็นกันเอง
    • ผ่อนคลาดความเครียด เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และการทำงานเป็นทีม
๒๒. ทำไมครูไม่มีชุดเครื่องแบบในการแต่งกาย
    • เคลื่อนไหวสะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆ
    • ลดความรู้สึกน่าเกรงขาม การยึดติดกับเครื่องแบบ ยศ ภาพลักษณ์ภายนอก
    • ลดช่องว่างระหว่างครูกับเด็ก
๒๓. ทำไมต้องมีการจัดอบรม พัฒนาศักยภาพครู และทำไมครูต้องได้เรียนรู้สิ่งใหม่
- เพราะ ครูเป็นผู้แนะนำ กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ เข้าใจอย่างลึกซึ้ง รอบรู้ กระตือรือร้น เรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

มาอยู่ที่ลำปลายมาศเราได้เปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

Problem-based learning



concept ของ Problem-based learning
กระบวนการที่เริ่มต้นเรียนด้วยการใช้ปัญหาเป็นนำพาไปสู่กระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหาด้วยการจำลองปัญหา การสืบค้นหาข้อมูล จากแหล่งต่างๆ เป็นการเรียนรู้ด้วยการกำกับทิศทางด้วยตัวนักเรียนเอง โดยนักเรียนจะประยุกต์ใช้รู้ในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลกับระดับความรู้ของผู้เรียน โจทย์ปัญหาคือปัจจัยกระตุ้นให้เกิดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ กระบวนการกลุ่มมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะได้สัมผัสกับการเผชิญปัญหาจริงหรือจำลองจะแก้ปัญหาด้วยการสร้างทางเลือกต่างๆ จากนั้นมาดูผลลัพท์ที่เกิดขึ้นว่าได้ผลหรือไม่ได้ผลซึ่งจะนำพาไปสู่การหาทางแก้ที่แท้จริง เมื่อเกิดผลสำเร็จ จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจ และความพอใจ

Concept ของจิตศึกษา


- เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดในด้านจิตวิญญาณ รู้คุณค่าของทุกสรรพสิ่ง การนำสิ่งที่ดีงามเข้าไปสู่จิตใต้สำนึก ได้แก่ การรู้คุณค่าความมีชีวิต การเกื้อกูลโลก
- การเตรียมความพร้อมของนักเรียน ให้อยู่ในภาวะคลื่นสมองต่ำ และมีความพร้อมในการเรียน มีสมาธิจดจ่อ เรียนรู้ได้เร็ว จดจำได้นาน

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

อบรมทำแผนภาษาอังกฤษ กับโรงเรียนกลุ่มเทศบาลนครขอนแก่น


ครูภาษาอังกฤษ
- ทำไมครูต้องสอน เด็กต้องเรียนภาษาอังกฤษ มีความจำเป็นอะไร?
- แสวงหาความรู้
- พื้นฐานการศึกษาที่สูงขึ้น
- ประกอบอาชีพ
- เจตคติต่อภาษาอังกฤษของนักเรียน
- ครูต้องสร้างเจตคติให้แก่นักเรียน เพื่อมีความอยากเรียนที่จะเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อให้เด็กมีความกล้า ไม่อายเมื่อพูดผิด

เป้าหมาย
- สามารถใช้ทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน ในการสื่อสารได้
- มีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ
- มีความเข้าใจวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
- ใช้แสวงหาความรู้ เปิดโลกทัศน์ยิ่งขึ้นเพราะ มีหนังสือหรือเวปไซด์แหล่งความรู้ภาษาอังกฤษ มากกว่าภาษาไทยหลายร้อยเท่า ที่รอเราอยู่ในโลกใบนี้
- สามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระอื่นได้

หน่วยการเรียน
- ที่มาของหน่วย ครู หลักสูตร (มาตรฐาน) ผู้เรียนมีส่วนร่วม (สำรวจความสนใจ)

ชื่อหน่วยการเรียน (ต้องน่าสนใจ ไม่แห้งแล้ง)
- วรรณกรรม (นิทาน)
- หน่วย (my self, my family, my school)
ซึ่ง ต้องสอดคล้องกับโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ของแต่ละ quarter เช่น quarter ที่สาม ต้องเกี่ยวกับ Science and Technology เป็นต้น

แผนการเรียนการสอน
1 Quarter 1 หน่วย
- My mapping เนื้อหา
- My mapping วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางทักษะภาษา และทักษะการคิด
- เป้าหมาย
- วิเคราะห์มาตรฐาน
- เค้าโครงการสอน
- ตารางกิจกรรม รายสัปดาห์ และรายวัน
- การประเมิน เกณฑ์รูบริค
-การเตรียมการสอน
-การสอน
- บันทึกหลังการสอน
- การใช้สื่อการสอนและเครื่องมือคิดต่างๆ
- การประเมิน (ตามสภาพจริง)
90% จาก ทักษะทางภาษา ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการทำงาน ทักษะการคิด ดูได้จาก การใช้ภาษาอังกฤษในการสนทนา ฟังพูดอ่านเขียน การค้นหาข้อมูล การนำ

เสนอ กระบวนการกลุ่ม และชิ้นงาน
10% จาก ความพยายาม

เราได้เปลี่ยนแปลงตัวเองยังไงบ้าง

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

เหตุผลของการก่อตั้งมัธยมนอกกะลา



เหตุผลของการก่อตั้งมัธยมนอกกะลา
เพื่อออกจากกรอบแนวคิดเดิมที่เอารายวิชาเป็นตัวตั้ง
ปลูกฝังให้เด็กมีความงดงามจากภายในไม่ไหลไปตามกระแสนิยม
ส่งเสริมศักยภาพความถนัดของนักเรียนแต่ละคน ไม่เน้นการแข่งขัน
มีทักษะการดำรงชีวิตที่ยอดเยี่ยม