ประชุมครูใหม่ในวันนี้ มีสองประเด็นใหญ่คือเทคนิคการเล่านิทาน และ ทฤษฎีสมองของบลูม
1. การเล่านิทาน คือนวัตกรรมการสอนที่สำคัญของครู เป็นการเตรียมเข้าสู่บทเรียนที่ดี
ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง
- ท่าทางครู น้ำเสียง สูง ต่ำ การเน้นเสียง ต้องน่าสนใจ
- การแสดงสีหน้า อารมณ์ของครู
- บรรยากาศโดยรอบ เพื่อให้เด็กอยากฟังมากยิ่งขึ้น
- ให้เด็กมีส่วนร่วม ไม่สรุปให้เด็ก
- การถามคำถามปลายเปิด แนวนอบน้อม
- การจับหนังสือ - หนังสือไม่หยุดนิ่ง
- การนั่งของครู
- ไม่จำเป็นต้องเล่าตามหนังสือทั้งหมด ใช้ภาษาของเราด้วย
- การปฏิสัมพันธ์แนวราบ
- การเลือกนิทาน นิทานต้องมีสีสันสวยงาม เนื้อหาเหมาะสมกับวัยของผู้ฟัง ไม่ยาวจนเกินไป
- การเตรียมตัวก่อนเล่า
2. พฤติกรรมสมอง ของบลูม
เริ่มต้นจากการจำ
-สู่การเข้าใจ การเข้าใจคือการตีความได้ สามารถสรุปเนื้อเรื่องเป็นคำพูดของตัวเองได้
- การประยุกต์ใช้ เช่น เรียนเรื่องดอกเบี้ย กลับบ้านไปสามารถคิดดอกเบี้ยคนกู้ให้พ่อได้ เป็นต้น
- การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ การให้ความเห็น ให้เหตุผล
- การสังเคราะห์ การรวมเป็นสิ่งใหม่ เช่น การนำ รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม มาต่อกันให้เป็นรูปใหม่
- การประเมินค่า การตัดสิน การวิจารณ์ ดีหรือไม่ดี ใครดีกว่ากัน เห็นด้วยหรือไม่ เป็นต้น
- การสร้างสรรค์ คือการทำให้เกิดสิ่งใหม่
IT and Business specialist M.B.A 3.74 Ramkham University B.B.A เกียรตินิยมอันดับ 2 ธุรกิจระหว่างประเทศ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554
เทคนิคการเล่านิทานและทฤษฎีของ Bloom
ป้ายกำกับ:
การเล่านิทาน
,
bloom
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น
(
Atom
)
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น