“กัลยาณการี กัลยาณัง ปาปการี จ ปาปกัง - ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”
IT and Business specialist M.B.A 3.74 Ramkham University B.B.A เกียรตินิยมอันดับ 2 ธุรกิจระหว่างประเทศ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
"ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” - "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
อกุศลวิบาก จิต 7 ดวง
รู้ - วาง
cr.จากหนังสือ อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่
ดร.ระวี กาวิไล
#อภิธรรม #ธรรมะ
วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ความหมายที่แท้จริงของ อนิจจา วต สังขารา-สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ...
อนิจจา วต สังขารา-สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ...
วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
พิจารณาให้เห็นความจริงว่ารูปที่สวยที่งามนั้นไม่จริง
เพราะคนเรายังมีธาตุลมกับธาตุไฟ คนก็เลยยังรักยังเอ็นดู
แต่เมื่อเมื่อได ที่ธาตุลมธาตุไฟหายไป เหลือแต่กายซีดๆ
คนรักก็จะเริ่มเบือนหน้าหนี เพราะเขากลัว
ยิ่งเมื่อใด ธาตุน้ำเริ่มไหนออกจากร่างกายอย่างน้ำเหลืองน้ำหนองกลิ่นก็เริ่มโชย นี่เห็นไหม มองให้เป็นอสุภะ
จะได้ตัดสักกายะทิฏฐิ ราคะต่างๆ เห็นสาวๆสวยๆ อย่าไปเลื่อนหนี เบิ่งมันเข้าไป ต่อสู้กับกิเลสในใจเจ้าของ
เบิ่งแล้วกะต้องพิจารณาให้มันเป็นของเฉยๆ เบิ่งปุ๊บให้เห็นเป็นโครงกระดูกลอยขึ้นมาเลย หรือเอาหน้าคนแก่มาเทียบก็ได้ เดี๋ยวก็แก่แล้วหนังก็จะเริ่มเหี่ยวเริ่มยาน
หนีคือแพ้ รอบหน้าเจออีกแพ้อีก มันต้องสู้กันอย่างนี้แหละกับกิเลส สติต้องตั้งมั่น ไม่ใช่ปล่อยใจเคลิ้มๆไปกับรูปที่สวยที่งาม กิเลสมันก็กินหัวเอาหมดปี
ต้องทำลายเชื้อไฟให้หมด ให้มันจุดไม่ติด
วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
จริงๆแล้วคนเรามันวัดกันที่ไหน
จริงๆแล้วคนเรามันวัดกันที่ไหน
โดย นายพิษณุชัย เรืองจันทึก 17/2/2565 23.17.00 น.
ถ้าสมมุติว่าอีก 3,000 ข้างหน้า หมดยุคของพระพุทธเจ้าองค์นี้ เกิดพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ ถ้าเกิดพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ใส่เสื้อยืดสีดำกางเกงยีน ใส่หมวกแก๊ปกลับด้าน
เขียนโดย นายพิษณุชัย เรืองจันทึก 17/2/2565 19:15:00 น.
ภาพประกอบ สมมุติ |
ถ้าสมมุติว่าอีก 3,000 ข้างหน้า
วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
เจตสิกฝ่ายเลวคือบ่อเกิดแห่งกองทุกข์
การอยู่กับคำบริกรรม หายใจเข้า - รู้
หายใจออก - วาง
ก็คือการละนันทิ ละความเพลิน อกุศลกรรมต่างๆที่จิตเราคิด เรื่องเก่าต่างๆ พอถึงคำว่า วาง คือวางหมด พอรู้ คือรู้ใหม่ รู้คือสติ รู้ว่าทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ เวทนาสุขทุกข์ อารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดี หรือ อารมณ์เฉยๆ เกิดดับๆๆๆ ไปเรื่อยๆเพราะจิตเจตสิกมีการเกิดดับตลอดเวลา อย่าให้สังขาร,เจตสิกปรุงชั่ว ทำแค่2อย่างรู้กับวาง
เจตสิก 3 ฝ่าย กุสลาธรรมา อกุสลาธรรมา อัพยากตาธรรมา(ธรรมที่เป็นกลางๆ) เจตสิกคือธรรมชาติสิ่งหนึ่ง ซึ่งประกอบกับจิต และปรุงแต่งจิตให้ประพฤติเป็นไปตามนั้น มีทั้งหมด 52 ดวง
จิตที่ยังมีเจตสิกฝ่ายเลว ย่อมนำพาให้เกิดภพชาติ
จิตที่ปราศจาก เจตสิกฝ่ายเลว คือจิตที่หลุดพ้น
พ้นอะไร คือพ้นจากทุกข์ พ้นจากการเกิด (ชาติภพ)
ดั้งนั้น กองทุกข์ ก็คือ เจตสิกฝ่ายเลว
ได้แก่
อกุศลเจตสิก ๑๔
โมจตุกเจตสิก ๔
1.โมหะ (ความหลง)
2.อหิริกะ(ความไม่ละอายต่อบาป)
3.อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวต่อบาป)
4.อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิต)
โลติกเจตสิก ๓
1.โลภะ (โลภ)
2.ทิฏฐิ (ยึดว่าตัวกูของกู)
3.มานะ (ความถือตน)
โทจตุกเจตสิก ๔
1.โทสะ (ความโกรธ)
2.อิสสา (ริษยา)
3.มัจฉริยะ (ตระหนี่ถี่เหนียว)
4.กุกกุจจะ (ความรำคาญใจ)
ถีทุกเจตสิก ๒
1.ถีนะ (ง่วงเหงา)
2.มิทธะ (เศร้าซึม)
วิจิกิจฉาเจตสิก ๑
1.วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
แต่การบริกรรมทำได้แค่การกดไว้ แต่การจะให้หายไปสิ้นเชิง ต้องเดินปัญญา วิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาไตรลักษณ์ในจิต หรือในกาย แล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล
#ธรรมะ
วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
วิชชา ๓ เครื่องมือแห่งการตรัสรู้ธรรม
วิชชา ๓ เครื่องมือแห่งการตรัสรู้ธรรม
บทความจากพระสูตรบางส่วนเรื่องการตรัสรู้ธรรมของพระศาสดาบุคคลควรพิจารณาดูอย่างยิ่งเพราะ โลกนี้คือคุกแห่งสังสารวัฏที่ติดของสัตว์
-------------------------------------
การตรัสรู้อริยสัจ ๔ และธรรมอื่นๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยอำนาจแห่งญาณทัสสนะของวิชชา ๓ เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าความจริง วิชชา ๓ นี้ ทรงได้จากการบำเพ็ญสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันวิชชา ๓ คืออะไร ?
วิชชา คือ ความรู้แจ้ง คือ ความรู้แจ่มแจ้ง ความรู้ชัดเจน ไม่คลุมเครือวิชชา เป็นความรู้แจ้งเห็นแจ้งตามความเป็นจริงที่เกิดจากการบำเพ็ญวิปัสสนา มิใช่ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน หรือการนึกคิดคาดคะเนวิชชา เป็นชื่อของญาณที่ทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ มี ๓ อย่าง คือ...
วิชชาที่ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้แจ้งเป็นเหตุให้ระลึกอดีตชาติของตนเองได้
วิชชาที่ ๒ จุตูปปาตญาณ หรือ ทิพพจักขุญาณ คือ ความรู้แจ้งในเรื่องการไปเกิดมาเกิดของสัตวโลกทั้งปวง
วิชชาที่ ๓ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้แจ้งที่ทำให้กิเลสสิ้นไป
ด้วยอานุภาพของวิชชา ๓
พระพุทธองค์จึงทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ได้สำเร็จด้วยอานุภาพของวิชชา ๓ พระพุทธองค์จึงทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ได้สำเร็จ นับแต่นั้นมากิเลสที่ ห่อหุ้ม หมักดอง บีบคั้น บังคับพระทัยของพระองค์มายาวนานนับภพนับชาติไม่ถ้วน ก็ถูกกำจัดออกไปจนหมดสิ้น
ดังนั้น พระองค์จึงตรัสปฐมพุทธพจน์เป็นการประกาศอิสรภาพจากการเป็นนักโทษในวัฏสงสารอย่างเป็นทางการว่า...
“เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือนเมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารมีชาติเป็นอเนก ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์,แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่านแล้ว,ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้,ซี่โครงทุกซี่ของท่าน เราหักเสียแล้ว,ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว,จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว,เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว”
ถ้อยคำในปฐมพุทธพจน์บางคำแฝงความหมายไว้ดังนี้
เรือน หมายถึง ร่างกาย ที่ใช้ในการเวียนว่ายตายเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วนนายช่างผู้ทำเรือน หมายถึง ตัณหา (ความอยาก) ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของกิเลส อันเป็นสาเหตุให้สรรพสัตว์ต้องติดคุกอยู่ในการเวียนว่ายตายเกิดเราพบท่านแล้ว หมายถึง เราตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ได้พบท่านแน่นอนแล้วท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้ หมายถึง ท่านจะทำให้เราเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกไม่ได้
ซี่โครง หมายถึง กิเลสเหล่าอื่นทั้งหมด
ยอดเรือน หมายถึง อวิชชา ได้แก่ ความไม่รู้แจ้งในเรื่องความจริงของชีวิต ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต อันเป็นเหตุให้สัตวโลกตกอยู่ในสภาพการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร
ธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน หมายถึง พระทัยของพระพุทธองค์บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง ด้วยการบำเพ็ญสัมมาสมาธิจนกระทั่งบรรลุวิชชา ๓
จากปฐมพุทธพจน์นี้ อาจสรุปได้ว่า วิชชา ๓ นั้น เปรียบเสมือนเครื่องมือที่พระพุทธองค์ทรงใช้ในการค้นพบความจริงต่าง ๆ ที่ถูกปิดบังเป็นความลับไว้ในวัฏสงสารมากมายหลายเรื่อง เช่น อริยสัจ ๔ ภพ ๓ โลกันตร์ เป็นต้น
คนทั้งโลกไม่มีใครเฉลียวใจเลยว่า โลกนี้คือคุกแห่งสังสาารวัฏ ทุกคนล้วนกำลังเป็นนักโทษตดิคุกนี้อยู่วัฏสงสารยาวนานเท่าใด
การบรรลุวิชชา ๓ ทำให้พระพุทธองค์ทรงค้นพบความจริงว่า วัฏสงสารนี้มีมายาวนานจนไม่อาจกำหนดระยะเวลาเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องปลายได้ ดังที่ตรัสว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
เมื่อเหล่าสัตว์ผู้ยังมีอวิชชาเป็นที่กางกั้นมีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ...”
พระองค์ยังได้ตรัสแสดงธรรมอีกว่า เพราะความไม่รู้เรื่องกฎแห่งกรรม ทำให้โลหิตที่มนุษย์แต่ละคนต้องสูญเสีย เนื่องจากการถูกตัดศีรษะเมื่อเกิดเป็นสัตว์ต่าง ๆ เช่น โค กระบือ แกะ แพะ ไก่ สุกร หรือเป็นโจรปล้น เป็นชายชู้ ฯลฯ
ในระหว่างที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนั้น มีปริมาณมากยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ แห่ง รวมกันเสียอีก แต่ปัญหาก็คือ คนทั้งโลกไม่มีใครเฉลียวใจเลยว่า โลกนี้คือคุกแห่งสังสารวัฏ ทุกคนล้วนกำลังเป็นนักโทษติดคุกนี้อยู่ ไม่รู้ว่าตนกำลังตกอยู่ภายใต้ กฎแห่งกรรมและกฎไตรลักษณ์ ไม่มีใครรู้สาเหตุแท้จริงที่ทำให้ตนประสบทุกข์ เพราะไม่ว่าคนจน หรือคนรวยต่างก็มีทุกข์ทั้งสิ้น จึงไม่มีใครช่วยใครให้พ้นทุกข์ได้อย่างเด็ดขาด จำต้องเวียนว่ายตายเกิด และทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุกนี้โดยไม่รู้จบสิ้น โดยไม่มีใครตอบได้ว่า วัฏสงสารยาวนานเท่าใด..อนุโมทนาสาธุในการธรรมค่ะทุกท่าน..
----------------------------
ที่ติดของสัตว์
ภิกษุ ท. ! สังสารวัฏนี้ เป็นสิ่งที่มีเบื้องตนและเบื้องปลายอันบุคคลรู้ไม่ได้ (เพราะเป็นวงกลม), เบื้องตน เบื้องปลาย ไม่ปรากฏ แก่สัตวทั้งหลาย ซึ่งมีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน กําลังแล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนสุนัข ถูกผูกด้วยเครื่องผูกสุนัข ซึ่งเขาผูกไว้ที่หลักหรือเสา อันมั่นคง : ถ้ามันจะเดินก็เดินเบียดหลักหรือเสานั้นเอง,
ถ้ามันจะยืนก็ยืนเบียดหลักหรือเสานั้นเอง, ถ้ามันจะนั่งก็นั่งเบียดหลักหรือเสานั้นเอง, ถ้ามันจะนอนก็นอนเบียดหลักหรือเสานั้นเอง, อุปมานี้ ฉันใด ;
ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ บุถุชน ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ย่อมตามเห็น พร้อม (คือเห็นดิ่งอยู่เป็นประจํา) ซึ่ง รูป ว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา
นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้ ;ยอมตามเห็นพร้อม ซึ่ง เวทนา ว่า
“นั่นของเรา (เอตฺ มม)นั่นเป็นเรา (เอโสหมสฺมิ)
นั่นเป็นตัวตนของเรา (เอโส เม อตฺตา)” ดังนี้ ;ยอมตามเห็นพร้อม ซึ่ง สัญญา ว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้;
ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง สังขาร ทั้งหลาย ว่า “นั่นของเรา นั่นเป็น
เรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้ ;และย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง วิญญาณ ว่า“นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้.
ถ้าบุถุชนนั้นเดินอยู่ก็เดินอยู่ใกล้ ๆ ปัญจุปาทานขันธ์นี้เอง,
ถ้าบุถุชนนั้นยืนอยู่ก็ยืนอยู่ใกล้ ๆปัญจุปาทานขันธ์นี้เอง,
ถ้าบุถุชนนั้นนั่งอยู่ก็นั่งอยู่ใกล้ๆ ปัญจุปาทานขันธ์นี้เอง,
ถ้าบุถุชนนั้นนอนอยู่ก็นอนอยู่ใกล้ ๆ ปัญจุปาทานขันธ์นี้เอง.
ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ บุคคลควรพิจารณาดูจิต
ของตนอยู่เสมอไป ว่า“จิตนี้ เศร้าหมองแล้ว ด้วยราคะ โทสะ และโมหะ ตลอดกาลนาน”ดังนี้เถิด.
------------------------------------
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘๓/๒๕๘.
หลวงตามหาบัว ตอบคำถามท๊อป และเทศน์ให้ท๊อปฟัง
หลวงตามหาบัว ตอบคำถามท๊อป และเทศน์ให้ท๊อปฟัง เมื่อ 1 กพ 2549
เก็บไว้ในความทรงจำ อยากบวชแต่แม่ไม่ให้บวชหายใจเข้า รู้ หายใจออก วาง
นี่แหละที่พยายามให้พากันมาภาวนา หายใจเข้า - รู้
วัดป่าพุทธภาวนา อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ |
1. ด้วย ฌาณ (สมถะ) ขั้นอรูปฌาณ
2. ด้วย วิปัสสนาเพื่อเข้าถึงนิพพาน คือเดินปัญญา เจริญมรรค ย่อมา ศีล สติ สมาธิ ปัญญา พิจารณาไตรลักษณ์ เอาไตรลักษณ์ไปจับ ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ขันธุ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ กาย เวทนา จิต ธรรม (สติปัฎฐาน 4) ก็ได้ , ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็ได้ ย่อมาคือ เห็น รูป กับ นาม เป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา จนเบื่อหน่าย คลายความกำหนัด คลายความยึดมั่นถือมั่นตัวกูของกู จิตปล่อยวางจิต จิตก็เข้ามรรคจิต ผมเคยพิจารณาใบไม้ จนใบไม้ นี่สลายกลายเป็นดิน จนลมเป่า ฟริ้ว ใบไม้ หายหมด เป็นอนัตตา แล้วก็เอาโลก มาพิจารณาต่อ เหมือนเรามองมาจากพระจันทร์ เห็นโลก กลมๆ สีฟ้าสีเขียว นี่ก็พิจารณา โลกเป็นยังไง โลกมันเที่ยงไหม โลกมันเป็นทุกข์ไหม พิจารณาเห็นไฟใหม้ น้ำท่วมโลก อุกกาบาต มาพุ่งชนโลก จนโลก แตกสลายหายหมด แม้แต่ก้อนดิน เม็ดดิน ก็ไม่มี สลายหายหมด เหลือแต่อวกาศเท่านั้น
วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
โปรแกรม Pdfill PDF Editor ฉบับที่ใช้ในที่ทำงาน
โปรแกรม Pdfill PDF Editor ฉบับที่ใช้ในที่ทำงาน
วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
วิธีประสบผลสำเร็จในชีวิต
วิธีประสบผลสำเร็จในชีวิต
รู้จักเหตุ รู้จักผล
รู้จักตน รู้จักประมาณ
รู้จักพบปะชุมชนผู้คน
รู้กาละเทศะ รู้จักคบมิตร
รู้ดี รู้ชั่ว
รู้เขา รู้เรา
——
วิธีอ่านใจคน รู้ความคิดของอีกฝ่าย 1.จับอาการ 2.จับวาจา 3.จับสีหน้า 4. จับกิริยา 5.วิเคราะห์เจตนา 6.ดูเหตุผลเบื้องหลัง 7.ดูความสัมพันธ์ 8. ดูความต้องการของอีกฝ่าย
—-
วิธีโน้มน้าวใจคน สิ่งที่เราจะทำ 1.ทักทาย 2. ถามความต้องการ 3. ตอบสนองความต้อง 4. โยนหินถามทาง 5. ขอโทษขออภัย 6. สร้างอารมณ์ขัน 7. ชวนสังสรรค์เฮฮาข้าวปลาเหล้าเบียร์เสียงเพลงกลบกล่อม(สุรานารี) 8. แลกเปลี่ยนเบอร์โทรเบอร์ไลน์ 9. เมื่อเขาบอกความต้องการของเขา เราก็บอกความต้องการของเราไป 10. หาเหตุผลข้ออ้าง 11. อ้อนวอนวิงวอน 12. ทำหน้าหน้าสงสาร 13. ขอบ อกขอบใจ 14. ไปลามาไหว้