วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

เจตสิกฝ่ายเลวคือบ่อเกิดแห่งกองทุกข์


 


การอยู่กับคำบริกรรม หายใจเข้า - รู้

หายใจออก - วาง

ก็คือการละนันทิ ละความเพลิน อกุศลกรรมต่างๆที่จิตเราคิด เรื่องเก่าต่างๆ พอถึงคำว่า วาง  คือวางหมด  พอรู้ คือรู้ใหม่ รู้คือสติ รู้ว่าทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ เวทนาสุขทุกข์ อารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดี หรือ อารมณ์เฉยๆ เกิดดับๆๆๆ ไปเรื่อยๆเพราะจิตเจตสิกมีการเกิดดับตลอดเวลา อย่าให้สังขาร,เจตสิกปรุงชั่ว ทำแค่2อย่างรู้กับวาง

เจตสิก 3 ฝ่าย กุสลาธรรมา อกุสลาธรรมา อัพยากตาธรรมา(ธรรมที่เป็นกลางๆ) เจตสิกคือธรรมชาติสิ่งหนึ่ง ซึ่งประกอบกับจิต และปรุงแต่งจิตให้ประพฤติเป็นไปตามนั้น มีทั้งหมด 52 ดวง

จิตที่ยังมีเจตสิกฝ่ายเลว ย่อมนำพาให้เกิดภพชาติ

จิตที่ปราศจาก เจตสิกฝ่ายเลว คือจิตที่หลุดพ้น

พ้นอะไร คือพ้นจากทุกข์ พ้นจากการเกิด (ชาติภพ) 

ดั้งนั้น กองทุกข์ ก็คือ เจตสิกฝ่ายเลว 

ได้แก่

อกุศลเจตสิก ๑๔

โมจตุกเจตสิก ๔

1.โมหะ (ความหลง)

2.อหิริกะ(ความไม่ละอายต่อบาป) 

3.อโนตตัปปะ  (ความไม่เกรงกลัวต่อบาป)

4.อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิต)

โลติกเจตสิก ๓

1.โลภะ (โลภ)

2.ทิฏฐิ (ยึดว่าตัวกูของกู)

3.มานะ (ความถือตน)

โทจตุกเจตสิก ๔

1.โทสะ (ความโกรธ)

2.อิสสา  (ริษยา)

3.มัจฉริยะ (ตระหนี่ถี่เหนียว)

4.กุกกุจจะ (ความรำคาญใจ)

ถีทุกเจตสิก ๒

1.ถีนะ  (ง่วงเหงา)

2.มิทธะ (เศร้าซึม)

วิจิกิจฉาเจตสิก ๑

1.วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)

แต่การบริกรรมทำได้แค่การกดไว้  แต่การจะให้หายไปสิ้นเชิง ต้องเดินปัญญา วิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาไตรลักษณ์ในจิต หรือในกาย แล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล

#ธรรมะ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น