วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565

พระสงฆ์บรรลุย้อนเณรหลายแล้ว อย่าหล่อแหล่

 



พระสงฆ์บรรลุย้อนเณรหลายแล้ว อย่าหล่อแหล่

จะปรับตัวอย่างไร…ให้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากครั้งนี้ไปได้

 

แก้ทุกข์

จะปรับตัวอย่างไร…ให้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากครั้งนี้ไปได้


เป็นธรรมดาที่ผู้คนล้วนต้องเผชิญช่วงเวลาที่ทุกข์ยาก ลำบากกายใจในบางช่วงขณะของชีวิต และไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม ความทุกข์ยากนับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ประสบการณ์ความยากลำบากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สามารถที่จะเปลี่ยนวิธีคิดและมุมมองใหม่ ๆ ของเราที่มีต่อโลกหรืออาจนำไปสู่ความท้อแท้ สิ้นหวังหรือปัญหาทางด้านสุขภาพจิตได้ แต่การเรียนรู้ที่จะรับมือและเอาชนะความทุกข์ยากคือสิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยืดหยุ่นทางจิตใจในความยากลำบากที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ทำให้เกิดความมั่นใจและสามารถที่จะพิชิตอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังที่ วอลท์ ดิสนีย์ กล่าวว่า “ความทุกข์ยากทั้งหมด ปัญหาและอุปสรรคทุกอย่างที่ผมเคยประสบมาในชีวิต ทำให้ผมแข็งแกร่งขึ้น… คุณอาจไม่ตระหนักตอนที่มันเกิดขึ้น แต่ความผิดหวังอันแสนเจ็บปวดอาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่โลกนี้มอบให้แก่คุณ”
อะไรคือความทุกข์ยากของชีวิต
ความทุกข์ยาก (Adversity) เป็นสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ยากลำบากหรือไม่พึงพอใจ มีผลกระทบต่อจิตใจ อารมณ์และความรู้สึกอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่ไม่เคยพบมาก่อนหรือไม่เคยคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น เช่น  ประสบภัยพิบัติ การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก สูญเสียทรัพย์สิน การตกงาน การเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรง การหย่าร้าง ฯลฯ เมื่อต้องประสบกับเหตุการณ์ยากลำบากต่าง ๆ เหล่านี้บุคคลไม่สามารถนำวิธีการจัดการหรือแก้ไขปัญหาแบบเดิม ๆ มาใช้อย่างได้ผล ส่งผลให้เกิดความเครียดความทุกข์ใจอย่างรุนแรง
จิตใจที่ยืดหยุ่นเป็นอย่างไร
ความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Resilience ) เป็นกระบวนการของการปรับตัวได้เป็นอย่างดี เมื่อเผชิญกับความทุกข์ยาก การบาดเจ็บ โศกนาฏกรรม ภัยคุกคามหรือสาเหตุที่มาของความเครียดที่สำคัญ เช่น ปัญหาครอบครัวและความสัมพันธ์ ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง หรือปัญหาความเครียดในที่ทำงานและด้านการเงิน ความยืดหยุ่นนั้นเกี่ยวข้องกับ “การฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ” หลังจากผ่านประสบการณ์ที่ยากลำบากเหล่านี้ได้มากเท่าที่จะสามารถยืดหยุ่นได้และยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาตนเองอย่างมากด้วยเช่นกัน สิ่งที่เป็นความขัดแย้งในเรื่องของความยืดหยุ่นทางจิตใจ คือ ในการเอาชนะความทุกข์ยากลำบาก คุณต้องช่วยตัวเองเป็นอันดับแรกก่อนเพราะสิ่งที่เป็นตัวกำหนดว่าคุณจะได้รับการ “ช่วยเหลือ” หรือไม่คือวิธีคิดของคุณไม่ใช่เหตุการณ์แวดล้อมภายนอก
ทำไม?…บางคนจึงสามารถฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติได้ดีกว่าคนอื่น
บางคนอาจรู้สึกว่าชีวิตของตนต้องพบกับสถานการณ์ทุกข์ยากมากกว่าคนอื่น ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกเราทุกคนจะต้องเผชิญกับความทุกข์ยากในสถานการณ์และช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไปในชีวิต ตั้งแต่การสูญเสียคนที่รักและการงานไปจนถึงการประสบกับการเลิกราและความเหงา เมื่อสถานการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นความรู้สึกล้มเหลวหรือพ่ายแพ้ชั่วคราวเป็นเรื่องปกติที่พบได้ ในขณะที่บางคนอดทนก้าวต่อไปข้างหน้าและพัฒนาตัวเองจากความทุกข์ยากนั้น แต่บางคนกลับหยุดชะงักไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หรือตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า ทั้งนี้เนื่องจาก สิ่งที่จะกำหนดว่าเราจะตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ทุกข์ยากที่เกิดขึ้นอย่างไรนั้นมาจากวิธีการที่เราใช้ในการจัดการกับความเครียด
อะไรที่จะช่วยส่งเสริมให้เราสามารถปรับตัวต่อความทุกข์ยากได้ดี
เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด บางคนดูเหมือนจะเข้มแข็งกว่าคนอื่น การศึกษาชี้ให้เห็นว่าความเข้มแข็งทางอารมณ์ก่อให้เกิดความยืดหยุ่นทางจิตใจในเรื่องความเจ็บป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพราะบางคนสามารถเผชิญกับความเครียดโดยไม่เจ็บป่วยในขณะที่บางคนเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น
ซูซาน โกบาซา ( Susan Kobasa :1979 ) นักจิตวิทยา กล่าวว่าความเข้มแข็งอดทน (Hardiness) เป็นลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลซึ่งทำหน้าที่เสมือนกันชน เมื่อประสบกับภาวะเครียดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตและเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ โกบาซา ได้จำแนกองค์ประกอบความเข้มแข็งทางจิตใจออกเป็น 3 องค์ประกอบ ดังนี้
1.ความท้าทาย (Challenge) เป็นความเชื่อของบุคคลว่าชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งท้าทาย คนที่มีความเข้มแข็งอดทน จะเปลี่ยนความยากลำบากให้เป็นความท้าทาย แทนที่จะพยายามต่อสู้กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ในทางกลับกันพวกเขากลับเผชิญหน้ากับมันโดยไม่ได้ตัดสินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่มุ่งที่จะค้นหาความหมายและบทเรียนที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์เหล่านั้น
2. ความมุ่งมั่น (Commitment) หมายถึงความความตั้งใจของเราที่จะยึดมั่น ให้ความสำคัญและคุณค่าในสิ่งที่ตนกระทำอยู่ให้สำเร็จลุล่วงโดยไม่คำนึงถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น โดยการกำหนดเป้าหมายที่สำคัญและมีความหมายต่อชีวิต และแบ่งกระบวนการออกเป็นขั้นตอนย่อยๆแล้วลงมือทำจนกว่าเราจะบรรลุเป้าหมายนั้น
3. การควบคุมตนเอง (Control) คือการตระหนักว่าคุณเป็นเจ้าของการกระทำของคุณเอง คุณไม่สามารถจัดการกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ แต่คุณสามารถควบคุมอารมณ์และการตอบสนองของตนเองได้ คุณมีทางเลือกที่จะเสียพลังงานไปกับการเล่นเป็นเหยื่อของเหตุการณ์แสดงให้เห็นว่าตนไม่ใช่คนผิดเพื่อได้รับความสงสาร เห็นอกเห็นใจ หรือมุ่งเน้นไปที่การช่วยตัวเองให้หลุดออกจากความทุกข์ยาก
องค์ประกอบทั้งสามของความความเข้มแข็งอดทนนี้เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติภายในที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้บุคคลสามมารถจัดการกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรที่เราจะต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในจิตใจและบำรุงรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดช่วงอายุขัยของเรา
 
ทำอย่างไรจึงจะผ่านความทุกข์ยากครั้งนี้ไปได้
คุณสามารถที่จะเรียนรู้ในการช่วยเหลือตัวเองให้ก้าวข้ามผ่านออกจากความทุกข์ยากนั้นไปได้ สิ่งที่เป็นตัวกำหนดชะตากรรมของคุณนั้นไม่ใช่เรื่องของความอดทนแต่กลับเป็นความสัมพันธ์ของคุณที่มีต่อความเป็นจริง ต่อตัวคุณเองและต่อคนอื่น วิธีคิดและวิธีการที่คุณจะสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเผชิญกับความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นนั้นเป็นคุณสมบัติทางจิตใจที่ทุกคนมีอยู่แต่อาจมีมากไม่เท่ากัน ซึ่งความจริงแล้วเราสามารถพัฒนาให้มีมากขึ้นและเพียงพอที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นความยากลำบากไปด้วยดี ด้วยการปรับตัวเองดังต่อไปนี้
·         ปรับความคิด
·         ยอมรับความจริงว่าความทุกข์ยากเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต การพยายามหลีกเลี่ยงหรือต่อต้านจะยิ่งทำให้มันคงอยู่กับเราอีกนาน ถ้ามองให้ดีจะเห็นว่าในโลกนี้ล้วนเป็นเรื่องราวของชีวิตที่ต้องมีการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดอยู่ทุกหนแห่ง ความทุกข์ยากเป็นของสาธารณะที่สามารถพบได้ทั่วไปในสถานการณ์ต่างๆทั่วโลก เช่น น้ำท่วม สึนามิ สงคราม การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 และภัยพิบัติทุกประเภท หรือแม้แต่ในครอบครัวของเราและของเพื่อน ก็ยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความตาย การสูญเสียและ เหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆเกิดขึ้น
·         ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต สิ่งที่คาดหวังและตั้งใจจะทำบางอย่างอาจไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้เกิดขึ้นในชีวิตของคุณ และการยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นก็ได้เกิดขึ้นแล้วเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ จะช่วยให้คุณจดจ่ออยู่กับสภาพสถานการณ์ในปัจจุบันที่คุณจะสามารถเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้
·         จัดการกับความคิดอัตโนมัติ การพยายามทำความเข้าใจว่าเราคิดอย่างไรต่อสถานการณ์ทุกข์ยากที่เราไม่รู้ว่าจะมีผลลัพธ์เป็นอย่างไรเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก ถ้าสังเกตความคิดที่เกิดขึ้นจะพบว่าเราจะมีความคิดอัตโนมัติมากมายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและส่วนใหญ่จะเป็นความคิดลบซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ผ่านกระบวนการของการใช้เหตุผล และไม่เกิดผลดีต่อการแก้ไขปัญหาขณะเดียวกันก็อาจรบกวนต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ขัดขวางการนอนหลับและการมีสุขภาพกาย-ใจที่ดี เราควรปล่อยวางความคิดอัตโนมัติด้านลบเหล่านี้โดยการฝึกสติสังเกตรับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก พยายามอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้มีสติจดจ่ออยู่กับลมหายใจของเรา ถ้าใจเผลอไปคิดเรื่องอื่นก็ดึงกลับมารับรู้ลมหายใจใหม่ หรือฝึกสติรับรู้ว่ากายกำลังทำอะไร ยืน เดิน นั่ง เคี้ยวอาหาร ฯลฯทำไปเรื่อยๆไม่ว่าเราจะทำอะไรอยู่ จนรู้สึกว่าหลุดออกจากการหมกมุ่น ครุ่นคิดในเรื่องเดิมๆและรู้สึกผ่อนคลาย การฝึกดังกล่าวถือเป็นการฝึกกล้ามเนื้อแห่งการปล่อยวาง เพื่อช่วยให้เราหลุดออกจากวงจรของความคิดลบ การหมั่นฝึกฝนเป็นประจำจะช่วยให้เรามีทางเลือกในการออกจากความคิดลบได้ทุกขณะเมื่อเราต้องการ
·         มองโลกในแง่ดีเข้าไว้ แม้ดูเหมือนจะเป็นการยากที่จะคิดบวกเมื่อชีวิตไม่เป็นไปตามที่คุณต้องการ แต่การมองโลกในแง่ดีจะช่วยให้คุณจัดการกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้ดีขึ้น ช่วยลดผลกระทบของความเครียดต่อสุขภาพกาย ขณะเดียวกันก็ช่วยให้เรายอมรับความเป็นจริงได้เร็วขึ้น เพราะความยืดหยุ่นเป็นเรื่องของการสงบใจไว้ได้และประเมินสิ่งต่าง ๆ แทนที่จะเพียงแค่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ในประเทศไทยในขณะปัจจุบัน จะเห็นว่ามีผลกระทบต่อบุคคลหลากหลายอาชีพทำให้ตกงาน แต่การมองโลกในแง่บวกทำให้คนบางกลุ่มเกิดการปรับตัวมองเห็นว่าความทุกข์ยากครั้งนี้ เป็นความท้าทายของชีวิต และหางานใหม่ทำ เช่น เทรนเนอร์ฟิตเนสต้องผันชีวิตมาขายทุเรียน จากนักบินมาเป็นพ่อค้าก๋วยเตี๋ยวริมทาง สจ็วตผันชีวิตมาเย็บหน้ากากผ้าขาย วิศวกรการบินต้องปรับชีวิตหันมารับจ้างล้างแอร์ พระเอกลิเกปรับตัวมาขายส้มตำ ฯลฯ การมองโลกในแง่ดีและมีความหวังจะช่วยให้คุณคาดหวังว่าสิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นกับคุณ ลองนึกภาพว่าคุณต้องการอะไร แทนที่จะหมกมุ่นครุ่นคิดอยู่กับสิ่งที่คุณกลัวหรือกังวล
·         การปรับอารมณ์
·         พูดระบายความรู้สึกทุกข์ใจออกมา อย่าพยายามเก็บกด ปิดกั้นที่ความรู้สึกหรืออารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้น และถ้าหากคุณยังหาใครสักคนที่ยินดีและพร้อมที่จะรับฟังความรู้สึกอัดอั้นตันใจในขณะนั้นไม่ได้ คุณสามารถพูดกับหมา แมว ต้นไม้ พืชผักต่างๆ หรือแม้กระทั่งการพูดออกมาดังๆกับตัวเองเมื่ออยู่ตามลำพัง เพราะการพูดเป็นสิ่งที่ดีต่อจิตใจ คำพูดที่สอดแทรกความรู้สึกออกไปด้วยจะช่วยทำให้ความตึงเครียดทางอารมณ์ลดลง
·         รักษาอารมณ์ขันไว้ ถ้าคุณสามารถหัวเราะเยาะกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ คุณก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อความเครียดและความทุกข์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะอารมณ์ขันช่วยเว้นระยะห่างระหว่างจิตใจกับความทุกข์ที่เผชิญอยู่ ช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองให้คุณเห็นสถานการณ์ในสภาพที่ตรงจริงยิ่งขึ้นทั้งในแง่บวกและแง่ลบ และรู้สึกว่าตัวเองตกอยู่ในภาวะที่ถูกคุกคามลดลง
·         การปรับการกระทำ
·         พัฒนาความเข้มแข็งภายในตนเอง คนที่เชื่อมั่นว่าความสามารถในการควบคุมจัดการกับปัญหามีศูนย์กลางจากความเข้มแข็งภายในตนเอง ย่อมผ่านพ้นความทุกข์ยากได้ดีกว่า คนที่คิดว่ามาจากคนอื่นหรือปัจจัยภายนอก ขณะเดียวกันคนที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจจะมองโลกตรงกับความเป็นจริงและเชื่อว่าแม้เราจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ แต่เรายังสามารถควบคุมชีวิตของตนเองได้ จากการเลือกใช้วิธีการในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม และสามารถรับมือกับความเครียดในชีวิตในเชิงรุกมากขึ้น มีแนวทางการแก้ปัญหามากขึ้น และรู้สึกควบคุมได้มากขึ้นจะทำให้เกิดความเครียดน้อยลง
·         คงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ผู้คนที่ยังคงติดต่อสื่อสาร มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นย่อมสามารถเผชิญกับช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากได้ดีกว่าคนที่รู้สึกว่าตัวเองโดดเดี่ยวอ้างว้าง ทั้งนี้เพราะสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้างไม่ว่าจะเป็น แฟน สามี ภรรยา เพื่อนๆ ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน หรือแม้แต่กลุ่ม/ชมรมที่เป็นสมาชิกอยู่ อาจเป็นโอกาสในการได้ระบายความรู้สึก ได้รับขวัญกำลังใจและแรงบันดาลใจที่ดีที่จะช่วยให้ผ่านพ้นความทุกข์ยากในครั้งนี้ได้ดีกว่าการแยกตัวอยู่กับความวิตกกังวลอย่างเพียงลำพัง
·         ดูแลเอาใจใส่ตัวเอง ความเจ็บปวดทางอารมณ์อย่างรุนแรงอาจทำให้คุณละเลยไม่ใส่ใจเรื่องการกิน การนอน หรือการออกกำลังกาย แต่ร่างกายและจิตใจของคุณจะไม่สามารถรับมือกับช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพได้เลย หากคุณไม่ได้ให้การดูแลพวกมันอย่างเหมาะสม พยายามให้โอกาสตัวเองอย่างดีที่สุดในการฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติ โดยการให้ความสำคัญในเรื่องของการนอนหลับ รับประทานอาหารตามปกติ และออกกำลังกายให้มาก ไม่ว่าการจูงใจตัวเองให้กลับมาใส่ใจในการดูแลร่างกายจะยากแค่ไหนก็ตาม คุณก็สามารถทำได้โดยการให้กำลังลังใจตัวเอง
·         แสวงหาความช่วยเหลือ คนจำนวนมากสามารถใช้ความเข้มแข็งภายในจิตใจของตนเองและวิธีการดังกล่าวข้างต้นก็อาจเพียงพอสำหรับการก้าวข้ามผ่านความทุกข์ยากในชีวิตไปได้ แต่ในบางคนอาจยังคงติดขัดหรือมีปัญหาในการฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ การแสวงหาความช่วยเหลือจากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตนับเป็นสิ่งสำคัญและเป็นประโยชน์ในการช่วยส่งเสริมให้บุคคลสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ไปได้
ความยืดหยุ่นทางจิตใจไม่ได้เป็นลักษณะที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดแต่เป็นสิ่งที่เราสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยการฝึกจิตใจให้คุ้นเคยกับการเผชิญกับความยากลำบากในชีวิตประจำวัน เผชิญกับสถานการณ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนหรือไม่มีแนวทางแก้ไขมาก่อน และพยายามพัฒนานิสัยในการเอาชนะอุปสรรค ซึ่งเมื่อใดถึงคราวที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากแสนสาหัสในชีวิต ความยืดหยุ่นทางจิตใจนี่แหละจะช่วยให้เราสามารถผ่านพ้นช่วงสถานการณ์วิกฤตินั้น ๆ ไปได้ด้วยดี และโปรดระลึกไว้เสมอว่า…มีเพียงจิตใจของคุณเท่านั้นที่จะสามารถเยียวยารักษาสิ่งที่จิตใจของคุณสร้างขึ้นมาได้…




แหล่งที่มา :
1. 5 Steps to Find Resilience in the Face of Adversity. https://www.foundationscounselingllc.com/blog /5-steps-to-find-resilience-in-the-face-of-adversity.php
2. Marcos LR. Overcoming Adversity: the power of resilience. https://vimeo.com/34266600
3. 7 Famous People on How Adversity Made Them Stronger. https://www.uschamber.com/co/stategy/ quotes-about –overcoming- adversity
4. Building your resilience. https://www.apa.org/topics/resilience
5. Resilience: How to Rescue Yourself from Adversity. https://www.fearlessculture.design/blog-posts/resilience-how-to-rescue-yourself-from-adversity
6. Kobasa SC. Stressful life events, personality, and health: an inquiry into hardiness. J Pers Soc Psychol. 1979 Jan;37(1):1-11.
ขอบคุณรูปภาพจาก www.freepik.com
 Post Views: 27,643
 

เมธีไยจึงมัววอนขอ!

 “ชีวิตในปัจจุบันของเรา คือผลจากวิถีชีวิตในอดีตที่เราได้กระทำมา

และวิถีชีวิตในปัจจุบันของเรา จะเป็นผลชะตาชีวิตของเราเองวันข้างหน้า

ฉะนั้น...
ชะตาชีวิตของเราในวันข้างหน้าและวันนี้จะเป็นอย่างไร
ใครเลยเป็นผู้กำหนด เมธีรู้หรือเปล่า?
(ตัวเองเป็นผู้กำหนด ครับ/ค่ะ)
.
ฉะนั้น...
เมธีไยจึงมัววอนขอ!
ไยจึงไม่วอนขอตัวเองบ้าง
ชะตาตนเป็นผู้กำหนด
ตนเองจึงต้องเปลี่ยนแปลงตนเองเอง
หาใช่ใครมาเปลี่ยนแปลงให้เราไม่”
.
.
พระโอวาท #พระโพธิสัตว์กวนอิม เมตตา
ประทานไว้เนื่องในโอกาส ชั้นประชุมวิริยะญาณ 3 วัน
วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พุทธศักราช 2549
ณ พุทธสถานจื้ออ้าย อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา



วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2565

บทขัด โมระปะริตตัง

 





บทขัด โมระปะริตตัง

ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง
เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะรา
จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง
พรัหมะมันตันติ อักขาตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

บทสวด โมระปะริตตัง

อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ

อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ


บทสวด โมระปะริตตัง แปล

(หันทะ มะยัง โมระปะริตตัง ภะณามะ เส)

อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

-พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง
กำลังอุทัยขึ้นมา สาดแสงสีทองส่องพื้นปฐพี

ตัง ตัง นะมัสสามิ
-เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อม ซึ่งพระอาทิตย์นั้น

หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

-ผู้สาดแสงสีทองส่องพื้นปฐพี

ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
-ข้าพเจ้าทั้งหลาย อันท่านคุ้มครองแล้ว
พึงอยู่เป็นสุข ตลอดเวลากลางวันวันนี้

เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
-ท่านผู้ลอยบาปได้แล้ว เหล่าใด
เป็นผู้รู้จบในธรรมทั้งปวง

เต เม นะโม

-ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น
จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้าเถิด

เต จะ มัง ปาละยันตุ
-ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น โปรดรักษาข้าพเจ้าด้วยเถิด

นะมัตถุ พุทธานัง
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

นะมัตถุ โพธิยา
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

นะโม วิมุตตานัง
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า
จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว จากกิเลสทั้งหลาย

นะโม วิมุตติยา
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม

อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
-นกยูงนั้น กระทำปริตอันนี้แล้ว จึงเที่ยวไปแสวงหาอาหาร

อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

-พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง
กำลังลาลับไป จากการส่องแสงแก่พื้นปฐพี

ตัง ตัง นะมัสสามิ
-เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อม ซึ่งพระอาทิตย์นั้น

หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

-ผู้สาดแสงสีทองส่องพื้นปฐพี

ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
-ข้าพเจ้าทั้งหลาย อันท่านคุ้มครองแล้ว
พึงอยู่เป็นสุข ตลอดเวลากลางวันวันนี้

เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
-ท่านผู้ลอยบาปได้แล้ว เหล่าใด
เป็นผู้รู้จบในธรรมทั้งปวง

เต เม นะโม

-ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น
จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้าเถิด

เต จะ มัง ปาละยันตุ
-ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น โปรดรักษาข้าพเจ้าด้วยเถิด

นะมัตถุ พุทธานัง
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

นะมัตถุ โพธิยา
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

นะโม วิมุตตานัง
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า
จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว จากกิเลสทั้งหลาย

นะโม วิมุตติยา
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม

อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
-นกยูงนั้น กระทำปริตอันนี้แล้ว จึงพักผ่อนหลับนอนแล ฯ

...............................................
คัดลอกจาก หนังสือมนต์พิธีแปล
รวบรวมโดย พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวัณโณ)
วัดอรุณราชวราราม(คณะ๓) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

 ประวัติตำนาน โมระปะริตตัง หรือ โมรปริตร

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2565

เจโตสมาธิคืออะไร

 จากธรรมบทนี้

            รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
             อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
             [๑๘๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่
ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ เจโตสมาธิ
อันไม่มีนิมิต๑- เท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
@เชิงอรรถ :
@๑ เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต หมายถึงความตั้งมั่นแห่งจิตในวิปัสสนาที่เรียกว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีสิ่งที่เที่ยง
@เป็นนิมิต เป็นต้น (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๒/๑๑๑)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๑๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

                                                                 ๑. จูฬสุญญตสูตร

             ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะ
อาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย
ความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวาย คือ
ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’
             รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ’
             รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ’
             รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้
เท่านั้น เหตุมีชีวิตเป็นปัจจัย’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น
ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้น
             รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
             อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
             [๑๘๓] อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญา-
ยตนะ ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
             ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้ ยังถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้
แต่สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้นั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ เมื่อภิกษุ
นั้นรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
             ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย
กามาสวะ ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยภวาสวะ ในญาณนี้ไม่มี
ความกระวนกระวายเพราะอาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวาย คือ
ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๒๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

                                                                 ๑. จูฬสุญญตสูตร

             รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากกามาสวะ’
             รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากภวาสวะ’
             รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากอวิชชาสวะ’
             รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้
เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่าง
นั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้น
             รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
             อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ยอดเยี่ยมอย่างยิ่งของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
             [๑๘๔] อานนท์ ในอดีต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เข้าถึง
สุญญตา๑- อันบริสุทธิ๒- ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็ได้เข้าถึง
สุญญตาอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่
             ในอนาคต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจักเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็จักเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่
             ในปัจจุบัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่
             อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักเข้าถึงสุญญตา
อันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่”
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬสุญญตสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ :
@๑ สุญญตา หมายถึงผลสมาบัติที่เกิดจากความว่าง (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๔/๑๑๑)
@๒ บริสุทธิ หมายถึงไม่มีกิเลส (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๔/๑๑๑)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๒๑}

                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๑๕-๒๒๑.
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=21



คำตอบคือ
เจโตสมาธิคืออะไรครับ
เจโตสมาธิ หมายถึง จิตที่เป็นสมาธิ
ตามพระสูตรข้างต้น ทรงตรัสสอนให้ภิกษุที่เจริญสมาบัติ ๘ ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
หมายถึง ให้จิตเพียงสักรู้ว่าเป็น อากิญจัญญายตนะ เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่เคลื่อนไปในอากิญจัญญายตนะ ไม่เคลื่อนไปในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต๑- เท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต ซึ่ง
หมายถึง การที่จิตที่เป็นสมาธิขณะนั้น(เจโตสมาธิ) เมื่อไม่ใส่ใจในอากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว จิตที่เป็นสมาธิ(เจโตสมาธิ) นั้นก็จะว่างจากสิ่งที่ถูกรู้(นิมิต) เรียกได้ว่าเป็น เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
"ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้ ยังถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้แต่สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้นั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ เมื่อภิกษุนั้นรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
วรรคสุดท้ายนี้คือ การเกิดปัญญาวิมุตติ ในนิโรธสมาบัติ เป็น อุภโตภาควิมุตติ จิตหลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ หลุดด้วยเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ


ปล่อยรู้ ทั้งหมดเลย

 #จิตที่มีอวิชชา(จิตโง่)

#จิตที่มีวิชชา(จิตฉลาด)

จิตโง่..คือ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆอย่างหนึ่ง ที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาจากความไม่รู้

มีเกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป

ตามเหตุปัจจัย อยู่ตลอดคืน อยู่ตลอดวัน

ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ..

จิตฉลาด..คือ สิ่งที่มีอยู่ก่อน

ที่จะถูกจิตโง่มาปิดบังทับไว้

เป็นสิ่งที่ไม่ใข่อารมณ์

ไม่ใช่ความรู้สึก

ไม่ใช่ความนึกคิดใดๆ

ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ

ไม่ปรากฏการเกิด

ไม่ปรากฏการเสื่อม

เมื่อตั้งอยู่ย่อมไม่มีภาวะอื่นๆปรากฏ

เป็นสิ่งที่ปัจจัยใดๆมาปรุงแต่งไม่ได้

ไม่ใช่รูป เวทนา สัญญา สังขาร

ไม่ใช่วิญญาณ..

การได้เห็นจิตฉลาดเพียงครั้งเดียว

เป็นการทำลายความเชื่อถือ

ความยึดถือในจิตโง่

ว่าเป็นอัตตาตัวตนของตน..

⭐จิตโง่ เป็นเหตุทำให้เข้าใจผิด หลงผิด เป็นต้นเหตุแห่งความเกิด แก่ เจ็บ ตาย

ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก

ความประสพกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ

ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้ในสิ่งนั้น.

การเกิดขึ้นของจิตโง่เป็นเหตุทำให้

มองไม่เห็นจิตฉลาดที่มีอยู่ก่อน

ที่จะถูกจิตโง่เกิดขึ้นมาปิดบังทับไว้..

จิตโง่..เป็นผู้ปรุงแต่งสร้าง

ควาามเป็นอัตตาตัวตน

ขึ้นมาหลอกว่ามีอยู่จริง

ปรุงแต่งสร้างภพภูมิสวรรค์วิมาน-นรก

เปรต อสูรกาย เดรัชฉาน

หลังความตายขึ้นมาหลอก

ให้เชื่อว่ามีอยู่จริง..

⭐จิตฉลาด..เป็นผู้รู้ความจริงในจิตโง่

จึงไม่หลงเชื่อในสิ่งต่างๆ

ที่จิตโง่ปรุงแต่งขึ้นมาหลอก

ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในจิตโง่

ด้วยความไม่เชื่อถือในจิตโง่

ความสะดุ้งหวาดกลัวจึงไม่มีแก่จิตฉลาด เพราะความดับไม่มีส่วนเหลือของจิตโง่นั่นเอง..

cr. ปล่อยรู้ทั้งหมดเลย (facebook)

หมดรู้กะเป็น อะเสขะ เท่านั้นแหละ



ธรรมชาติสอนธรรมะเราตลอดเวลา

 ธรรมชาติสอนธรรมะเราตลอดเวลา

มีเด็กเกิดใหม่ มีคนแก่ ที่รพ.มีคนเจ็บ ที่งานศพมีคนตาย ใบไม้เคลื่อนไหว ลมพัดใบไม้ ล่วงหล่น
ใบไม้เขียว
ใบไม้แห้ง ใบไม้ที่อยู่กับต้น ใบไม้ที่กำลังล่วงลงดิน ใบไม้ที่อยู่บนดิน ใบไม้ที่โดนใส้เดือนเจาะ ใบไม้ที่กำลังสลายกลายเป็นเม็ดดิน ใบไม้ที่กลายเป็นดิน ใบไม้ที่หายไป ภูเขาที่ตั้งอยู่ ภูเขาที่กำลังโดนกลุ่มนายทุนทำลาย ภูเขาที่เป็นทุกข์ ภูเขาที่เปลี่ยนแปลง ภูเขาที่หายไป

แม้แต่จิตเราเอง ก็กำลังสอนเราอยู่ จิตที่ตั้งมั่น จิตที่หวั่นไหว จิตที่ไหลไปตามอารมณ์ จิตที่ไหลไปตามรูป แม้แต่สมาธิก็สอนเรา ขณะเราทำสมาธิ เห็นสมาธิที่ตั้งมั่น สมาธิที่มีนิมิต สมาธิที่ไม่มีนิมิตร สมาธิที่ไหลไป สมาธิที่เคลื่อนไหว สมาธิที่เป็นทุกข์ สมาธิที่เป็นสุข สมาธิที่เปลี่ยนแปลง สมาธิที่บังคับไม่ได้ สมาธิที่บังคับได้ สมาธิที่มีตัวตน สมาธิที่ไม่มีตัวตน

#ธรรมะ ธรรมดา ธรรมชาติ สิ่งนี้มีอยู่แล้วก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ 



มนุษย์คืออะไร

 มนุษย์คืออะไร

มนุษย์คือคนบาป
มนุษย์คือคนดี
มนุษย์คือคนที่มีกิเลส
มนุษย์คือคนที่ไม่มีกิเลส
มนุษย์ปุถุชน
มนุษย์คืออริยชน
มนุษย์คือนักโทษ
มนุษย์คือพระอรหันต์
มนุษย์คือคนเห็นแก่ตัว
มนุษย์คือคนที่มีเมตตา
มนุษย์คือคนที่อาฆาตผูกโกรธ
มนุษย์คือผู้ให้ชีวิต
มนุษย์คือผู้โลภ
มนุษย์คือผู้แจกทาน
มนุษย์คือผู้สาบแช่ง
มนุษย์คือผู้ประทานพร
มนุษย์คือผู้รอคอยโชคชะตา
มนุษย์คือผู้สร้างโชคชะตา
มนุษย์คือคนจน
มนุษย์คือคนรวย
มนุษย์คือคนไม่พอ
มนุษย์คือคนพอเพียง
มนุษย์คือผู้สร้างกรรม
มนุษย์คือผู้ไม่สร้างกรรม
มนุษย์คือผู้หลง
มนุษย์คือผู้เห็นทางพ้นทุกข์
มนุษย์คือผู้เกียจคร้าน
มนุษย์คือผู้มีความเพียรแผดเผากิเลส
มนุษย์คือ อะไร อยู่ที่เราทำตัวเราเอง
#ธรรมะ #คำคม

จิตคืออะไร

 จิตคืออะไร

จิตคือเรา
เราคือจิต
จิตคือทุกข์
จิตคืออวิชชา
จิตคือราคะ
จิตคือสังขาร
จิตคือวิญญาณ
จิตคือนามรูป
จิตคืออายตนะ
จิตคือผัสสะ
จิตคือเวทนา
จิตคือตัณหา
จิตคือกิเลส
จิตคืออุปาทาน
จิตคือภพ
จิตคือชาติ
จิตคือชรามรณะ
จิตคือสัทธา
จิตคือปราโมท
จิตคือปีติ
จิตคือปัสสัทธิ
จิตคือสุข
จิตคือสมาธิ
จิตคือยถาภูตญาณทัศนะ
จิตคือนิพพิทา
จิตคือวิราคะ
จิตคือวิมุติ
จิตคืออาสาวขยญาณ
จิตคือนิพพาน
จิตคือพระ
จิตคือพุทธะ
จิตคือการบรรลุ
จิตคือความว่าง
จิตคือสุญญตา
จิตคือความพ้นทุกข์
จิตไม่ใช่เรา