วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ทางสายเอก

 เดินตามมรรค 8 พิจารณา ธาตุ 4 ขันธ์ 5 ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ กายนี้ ประกอบด้วย ดิน คือเนื้อและกระดูก น้ำคือ น้ำลาย น้ำเหลือง และน้ำเลือด ลม คือลมหายในเข้า ไฟคือลมหายใจออกและอุณหภูมิร่างกายเอาหลังมือแตะหน้าผาก ก็จะพบไฟ /ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

บริหารพอร์ต หุ้น อย่างไรดี

 บริหารพอร์ตหุ้น อย่างไรดี

1. ควรแบ่ง พอร์ตหุ้นสำหรับ การถือระยะยาวและสำหรับเทรดรายวัน สัดส่วนแล้วแต่ เช่น 50:50 หรือ 30:70 ไม่ควรเทรดรายวัน 100% เพราะความเสี่ยงอาจจะสูง
2.สำหรับหุ้นระยะยาว ให้ดูพื้นฐานและกราฟเป็นหลัก กราฟ 6M และ1Y ควรเป็นกราฟขาขึ้น ผลประกอบการปีที่แล้วควรเป็นกำไร และมีอัตราปันผลที่ดี ราคาหุ้นรอบ 1 เดือนขึ้นลงไม่เกิน 10% ผันผวนต่ำ หาข่าวจาก google ข่าวสาร มาสนับสนุนข้อมูลการซื้อ คือการพิมพ์ชื่อบริษัท นั้นๆ แล้วค้นใน google เลือกตรงข่าวสาร อาจจะดูกราฟ week กราฟ month ประกอบการตัดสินใจ หรือ เอาชื่อหุ้นไป search ในเวป hoonstation เพื่อดูแนวโน้ม รีวิวคะแนน ประกอบ ดูข้อมูลสิทธิพิเศษผู้ถือหุ้นจากเวป set.or.th หรือ settrade.com
3.สำหรับหุ้นระยะสั้น Daytrade คะแนน RSI ดี กราฟแนวโน้มอยู่ในกราฟขาขึ้น ราคาไม่เกิน 50 บาท เป็นหุ้นราคาถูกๆ ยิ่งเศษสตางค์ยิ่งดี มี Volume เข้า เป็น top 10 Volume หรือ top 10 Value ของวันนั้นๆ แล้ว เป็นสีเขียว ตัวเลขเป็นบวก รอเข้าเวลาสัก 10.15-10.30 น.
4.ซื้อไปแล้วราคาไม่วิ่ง วิ่งช้า หรือวิ่งผิดทาง รีบคัททิ้ง ถ้าวอลุ่มไม่เข้า กระพริบช้า ไปเล่นตัวอื่น
5. อยากซิ่งตัวใหญ่ เช่น Delta แต่เงิน ไม่ถึงแนะนำเล่น DW เพราะซิ่งได้ทั้งขาขึ้น Call (C) กับ ขาลง ตัว Put (P) (short หุ้น) คือการแทงสวน แช่งให้หุ้นหลักตก
#DW ลงทุนน้อย ผลตอบแทนสูง ขึ้นลงไว แต่จะเหนื่อยหน่อย ถือนานไม่ได้ราคามันจะลดไปเรื่อยๆ



วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

คุณสมบัติของบุคคลที่จะบวช

ตามพระวินัย ตามคำขออุปสมบท จะมีบทที่สอบทาน คุณสมบัติควรเป็นอย่างนี้




กุฏฐัง ( โรคเรื้อน ? ) ผู้จะบวชพึงรับว่า นัตถิ ภันเต ( ไม่มี เจ้าข้าฯ )
คัณโฑ ( ฝี ? ) พึงรับว่า นัตถิ ภันเต ( ไม่มี เจ้าข้าฯ )
กิลาโส ( กลาก ? ) พึงรับว่า นัตถิ ภันเต ( ไม่มี เจ้าข้าฯ )
โสโส (โครมองคร่อ ? ) พึงรับว่า นัตถิ ภันเต ( ไม่มี เจ้าข้าฯ )
อะปะมาโร ( ลมบ้าหมู ? ) พึงรับว่า นัตถิ ภันเต ( ไม่มี เจ้าข้าฯ )
มะนุสโสสิ๊ ( เธอเป็นมนุษย์หรือ ? ) พึงรับว่า อามะ ภันเต ( ขอรับ เจ้าข้าฯ )
ปุริโสสิ๊ ( เธอเป็นชายหรือ ? ) พึงรับว่า อามะ ภันเต ( ขอรับ เจ้าข้าฯ )
ภุชิสโสสิ๊ ( เธอเป็นไท ( มิใช่ทาส) หรือ ? ) พึงรับว่า อามะ ภันเต ( ขอรับ เจ้าข้าฯ )
อะนะโณสิ๊ ( เธอไม่มีหนี้สินหรือ ? ) พึงรับว่า อามะ ภันเต ( ขอรับ เจ้าข้าฯ )
นะสิ๊ ราชะภะโฏ ( เธอพ้นจากราชการแล้วหรือ ? ) พึงรับว่า อามะ ภันเต ( ขอรับ เจ้าข้าฯ )
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ ( เธอเป็นผู้ที่มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ ? ) พึงรับว่า พึงรับว่า อามะ ภันเต ( ขอรับ เจ้าข้าฯ )
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ ( เธอมีอายุครบยี่สิบปีแล้วหรือ ? ) พึงรับว่า อามะ ภันเต ( ขอรับ เจ้าข้าฯ )
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง ( บาตรจีวรของเธอมีครบแล้วหรือ ? ) พึงรับว่า อามะ ภันเต ( ขอรับ เจ้าข้าฯ )
กินนาโมสิ๊ (เธอชื่ออะไร ? ) พึงกล่าวดังนี้ว่า อะหัง ภันเต ...* (ชื่อพระใหม่) นามะ
โก นามะ เต อุปัชฌาโย ( อุปัชฌาย์ของเธอชื่ออะไร ) พึงกล่าวดังนี้ว่า อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา... * (ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ

สมมุติ รูปบนนี้คือเรา ผู้ยังมีกิเลส VS รูปล่าง จิตของพุทธะ

 สมมุติ รูปบนนี้คือเรา ผู้ยังมีกิเลส VS รูปล่าง จิตของพุทธะ

.



จกฺขุวิญฺญาณธาตุยา ตํ สมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ นิสฺสาย ปจฺจเยน ปจฺจโย
โสตายตนํ โสตวิญฺญาณธาตุยา ตํ สมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ นิสฺสาย ปจฺจเยน ปจฺจโย
ฆานายตนํ ฆานวิญฺญาณธาตุยา ตํ สมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ นิสฺสาย ปจฺจเยน ปจฺจโย
รสายตนํ ชิวฺหาวิญฺญาณธาตุยา ตํ สมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ นิสฺสาย ปจฺจเยน ปจฺจโย
กายายตนํ กายวิญฺญาณธาตุยา ตํ สมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ นิสฺสาย ปจฺจเยน ปจฺจโย
ยํ รูปํ นิสฺสาย มโนธาตุยา จ มโนวิญฺญาณธาตุ จ วตฺตนฺติ ตํ รูปํ มโนธาตุยา จ มโนวิญฺญาณธาตุยา ตํ
ดูเพิ่มเติมจากบทสวดมุข ปัจจยาการวิภังค์
——- แปล
สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
[๒๕๘] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
[๒๕๙] นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญาณเป็นปัจจัย
[๒๖๐] สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มหายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
[๒๖๑] ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
[๒๖๒] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
[๒๖๓] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
[๒๖๔] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
[๒๖๕] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน ภพ ๒ คือ กรรมภพ ๑ อุปปัตติภพ ๑ ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า กรรมภพ กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า กรรมภพ
อุปปัตติภพ เป็นไฉน กามภพ รูปภพ อรุปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ กรรมภพและอุปปัตติภพดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย.
[๒๖๖] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ควานหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
สรุป
ภพ เกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ตัณหาเกิดเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
ทุกข์เกิด เพราะชาติ ชาติเกิดเพราะภพ
เพราะมีชาติจึงมีชรา มรณะ
จาก ประไตรปิฏก ปัจจยาการวิภังค์ และปฏิจจสมุปบาท




วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

มือถืออินเตอร์เน็ตถ้าใช้ดี ก็ถึงตู้พระไตรปิฏกโดยฉับพลัน ถ้าใช้ไม่ดี ก็โดนราคะ โทษะ โมหะครอบงำ

 มือถืออินเตอร์เน็ตถ้าใช้ดี ก็ถึงตู้พระไตรปิฏกโดยฉับพลัน ถ้าใช้ไม่ดี ก็โดนราคะ โทษะ โมหะครอบงำ

แต่เราเป็นนายมัน อย่าให้มันมามีอำนาจเหนือเรา
จิตเกิดราคะ ก็เข้า google ค้นรูป ค้นว่า อสุภะกรรมฐาน เพ่งไปพิจารณาไป จากนั้นเปลี่ยนไปดูรูปผู้หญิงสาวๆสวยๆ แล้วมองให้เห็น กระดูก เป็นกล้ามเนื้อ เป็นเนื้อแดงๆ หรือเป็นเนื้อที่ตายที่เน่าไปแล้ว สุดท้ายก็เฉยต่อรูปที่สวยที่งาม มันไม่เที่ยง จีรังยั่งยืนหรอก
กิเลสราคะ มันเกิดขึ้นมาก็ไปใส่มันอีกครั้ง

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

จิตที่เคลื่อนเป็นอนัตตา



เมื่อบุคคลเดินสมถะจนได้อรูปฌาน ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ...

...ถ้าเป็นวิปัสสนา จะไม่เห็นความว่างแบบนั้น แต่จะเห็นการปรุงแต่ง เกิดๆดับๆของรูปนามละเอียดยิบๆยับๆในจิต
...ถ้าได้ฌานละเอียดถึงระดับนั้นแล้ว ขั้นต่อไป แล้วแต่จะเลือกเอา คือ
- ฝึกให้ได้อรูปฌานที่ละเอียดยิ่งๆขึ้นไป หรือ
- เริ่มมาฝึกพิจารณา โดยการกำหนดย้อนทวนเข้ามาดูสังขารการปรุงแต่งในจิตของตนเอง จนได้วิปัสสนาญาณเริ่มปรากฏขึ้นมาทีละขั้นๆๆ...
ดูจิตเคลื่อนแล้วรู้ ความจิตเคลื่อนนั้นมันคืออะไร??ให้พิจารณาเอา

- แต่ ในตอนแรก ก็ต้องฝึกฌานขั้นนั้น ให้ชำนาญก่อน คือ ฝึกให้ได้วสี ๕ จะเข้าหรือจะออกหรือจะกำหนดให้แน่วนิ่งไปนานตามต้องการ ได้ตามใจปรารถนา .. เมื่อได้วสี ๕ ชำนาญแล้ว จึงค่อยเริ่มต้นฝึกวิปัสสนา 

จิตที่เคลื่อนเป็นทุกข์

จิตที่เคลื่อนอนิจจัง
จิตที่เคลื่อนเป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่สามารถควบคุมได้
การเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ แล้วปล่อย
ภาวะที่ปล่อย ภาวะที่ละ ภาวะที่สลัดคืน
นั่นแหละ คือความหลุดพ้น
#ธรรมะ #วิปัสสนา