วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564

การแก้ไขปัญหาตอนน้ำท่วม


 เอาจริงๆเวลาน้ำท่วม เราแบ่งหน้าที่ความรับผิดกันชัดเจนแล้วหรือยังว่าใครเป็นแม่งาน

น้ำท่วมระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ
เรามี SOP หรือพรบ.ประกาศไว้ชัดเจนหรือยัง
น้ำท่วมแต่ละที ใครเป็นแม่งาน?? อบต. อพปร. ชลประทาน อำเภอ จังหวัด ผู้ว่า หรือกรมชลประทาน หรือ นายกรัฐมนตรี ต้องมาดูสเกลแล้วมอบหมายและประกาศออกไปให้ชัดเจนว่าใครสั่งการ และทุกคนต้องให้ความร่วมมือเช่น ขอความร่วมมือเปิดประตูกั้นน้ำ ใครคืออำนาจสูงสุดในการอนุมัติ
พี่หยุดศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ 3 วัน น้ำมาวันเสาร์ ต้องรอวันเปิดทำการไหม??
................
#น้ำท่วมลพบุรี #น้ำท่วมชัยภูมิ ในภาพนายกดูแผนที่แต่เดี๋ยวนะ ใช้แผนที่อะไรก่อน
ใช่ครับ จริงๆต้องเอาไอแพดมากางดู google map ดูว่ามีอ่างเก็บน้ำตรงไหน เขื่อนตรงไหน แม่น้ำตรงไหน เอาปากกามาวง จุดที่แม่น้ำกับเขื่อนใกล้กัน จากนั้นก็ระดมสูบน้ำตรงนั้นหรือถ้ามีประตูกั้นน้ำก็เปิดออก สูบจากแม่น้ำหรือคลองลงไปยังเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ พอวงเสร็จก็รีบให้คนไปดูแล้วรายงาน
#การแก้ไขปัญหาตอนน้ำท่วม ก็มี 3 อย่าง 1.สูบน้ำระบายน้ำ คนที่เป็นผู้นำ ต้องประชุมวางแผน กางแผนที่ออก แล้วดูว่ามันมีอ่างเก็บน้ำตรงไหน ฝายตรงไหน แม่น้ำตรงไหน ที่ระบายน้ำไปเก็บได้ และมีเครื่องสูบน้ำหรือประตูระบายน้ำไหม ถ้าไม่มีต้องระดมจากทุกภาคส่วนขอความร่วมมือ mark เป็นจุดๆ ว่าจะสูบตรงไหน เปิดประตูน้ำตรงไหน ต้องส่งทีม เข้าไปดู ว่าสถานการณ์ตรงนั้นเป็นอย่างไร แล้วรายงานกลับมา ว่า ประตูเปิดได้ไหม หากุญแจเจอไหม เครื่องสูบน้ำพังไหม มีไฟฟ้ามีน้ำมันในการสูบไหม
2. ทีมอพยพและกู้ภัย เอาเรือท้องแบนเข้าไปอพยพคนออกมา (ตรงนี้มีอาสาสมัครกู้ภัย และมูลนิธิ กับทหาร ตำรวจ สามารถมาช่วยงานได้)
3. ทีมเยียวยา ข้าวกล่องและน้ำ อาหารแห้ง หน่วยงานเอกชนสามารถบริจาคได้ ควรประชาสัมพันธ์ช่องทางบริจาคให้ชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น