วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2564

คุณคิดว่า ทำไมควรต้องมีวัฒนธรรม

 คุณคิดว่า ทำไมควรต้องมีวัฒนธรรม

วัฒนะ แปลว่า การเจริญงอกงาม การขยับขยาย
ธรรม แปลว่า ธรรมะ คุณความดี หรือคำสั่งสอน
วัฒนะธรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้ามีแค่ คนคนเดียว เช่นเมาคลี ที่อยู่ในป่ากับลิงและหมาป่า
จะต้องมี คนตั้งแต่ 2 คนและต้องเป็นคนที่อายุต่างกัน คือต้องมีคนแก่กว่า 1 คน สอนคนที่เกิดทีหลังอีก 1 คน
นั่นก็หมายความคร่าวๆ ว่า มันคือคำสอน ของคนรุ่นหนึ่งส่งมอบให้คนรุ่นหนึ่ง
ถ้าทำตามคำสอนนี้แล้วจะเจริญ
ในหัวเรา ต่างคิดว่า วัฒนธรรม มันคือสิ่งที่โบราณ และไม่สามารถเอามาใช้ได้ ใช่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด มันมีทั้งสิ่งที่ควร คงอยู่ และสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลง เพราะถ้าไม่เปลี่ยนแปลงจะไม่สามารถแข่งขันได้ สู้คนอื่นไม่ได้ สมัยที่ไทยเปลี่ยนวัฒนธรรมมากที่สุด คือสมัย ร.5 เรามีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเช่น ยกเลิกการหมอบการ ยกเลิกทาส ไพร่ ยกเลิกการถอดเสื้อเดินของชายไทย ให้มีการใส่เสื้อผ้า และเสื้อผ้า ก็จะเกิดประสม 2 วัฒนธรรมคือไทย + ยุโรป ตามภาพประกอบ




ถามว่าปัจจุบันมีใครแต่งตัวแบบนี้หรือไม่ ก็ไม่ ถ้าไม่ใช่ในละครหรืองานกินเลี้ยงแฟนซี
เพลงชาติไทย ที่เราใช้กันมาถึงทุกวันนี้ รู้ไหมว่าไม่ใช่เพลงชาติเพลงแรก และเพลงนี้แต่งมาตั้งแต่ปี 2475 แล้ว สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย
ธงชาติไทย หรือธงไตรรงค์ ใช้มาตั้งแต่ปี 2460 และไม่ใช่ธงชาติแบบแรกที่เรามี ล้วนแต่มีการเปลี่ยนมาแล้วหลายครั้ง
การไหว้ นี่คงเป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เราถูกสอนกันมาตั้งแต่ชั้นประถม ในวิชา ส.ล.น. แต่ทุกวันนี้ไม่รู้ว่ามีวิชานี้อยู่หรือเปล่า ไหว้ผู้ใหญ่ไหว้ยังไง รับไหว้ รับไหว้ยังไง ถวายบังคม ถวายยังไง กราบพระยังไง กราบเบญจางคประดิษฐ์ที่ถูกต้องทำยังไง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา ที่เข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.236 หรือ 2328 ปีมาแล้ว
ภาษา ภาษา ถูกแบ่งออกหลายระดับ เนื่องจาก ประเทศไทยมีการแบ่งชนชั้น เช่น คำราชาศัพท์ คำศัพท์ที่พูดกับพระสงฆ์ และอายุ และลักษณะทางการหรือไม่ทางการ บางครั้งอาจแยกเป็นภาษาท้องถิ่นหากไปในท้องถิ่นนั้นๆ เช่นภาคอิสาน ก็จะพูดกันอีกแบบนึง แต่บางครั้งก็อาจจะมีการใช้คำทับศัพท์ เช่น อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ เนื่องจากสิ่งของเหล่านี้เกิดหลัง สมัยพ่อขุนรามคำแหง ในสมัยสุโขทัย ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย
คำทักทาย คนลาวอาจจะ พูดสบายดี คนไทยพูด สวัสดี แต่ถ้าเมื่อเราเจอพระ เราก็จะพูดว่า นมัสการพระคุณเจ้า และพระสงฆ์จะตอบว่า เจริญพรโยม บางครั้งเราอาจเรียกแทนพระว่า หลวงพี่ หลวงพ่อ หลวงปู่ พระอาจารย์ ท่านพระครู แล้วแต่อายุและยศ
มีพิธีกรรมพิธีการ เช่น เคารพธงชาติหน้าเสาธงที่โรงเรียน พิธีไหว้ครู พิธีถวายจังหันพระตอนเช้า ถวายเพล ตักบาตรบ้าน งานศพ งานแต่ง งานบายศรีสู่ขวัญ ถวายกฐิน ทอดผ้าป่า ล้วนมีอิทธิพลมาจาก ศาสนา พิธีจุดเทียนชัยถวายพระพร พิธีราชาภิเษก พืชมงคล แรกนาขวัญ เปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้ว ล้านมีอิทธิพลมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์ สรุปรวมง่ายๆ มาจาก ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
วัฒนธรรมเกิดจากชนชั้นปกครอง เจ้าเมือง หรือผู้ที่กำหนดกฎหมายในอดีต เป็นคนกำหนด แต่บางอย่างก็เกิดจากชนชั้นล่าง คำสอนของคนเฒ่าคนแก่ บรรพบุรุษ เช่น อย่าไปยืนค้ำหัวคนใหญ่ อย่าเอามือลูบหัวผู้ชาย อย่าไปนั่งเท่าพระสงฆ์ อย่านอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก อย่ารินเหล้าหงายมือ เขาเอาไว้รินให้ผี ให้คนตาย ให้เจ้าที่ ถวายของพระแล้ว ห้ามไปจับ เพิ่นสิอาบัติ อย่าเอามือไปชี้สายรุ้ง นิ้วสิกุด อย่าใส่เสื้อผ้ากลับด้าน เขามีแต่ผีที่ใส่เสื้อผ้ากลับด้าน เวลาคนใหญ่พูดกันเด็กน้อยห้ามพูดแทรก อย่าตบหัวเด็กน้อยมันสิเยี่ยวใส่บ่อน เป็นต้น
ว่าสิ่งนี้ควรใช้ สิ่งนี้ควรยกเลิก และในอนาคตอาจจะโดนตัดทอนหรือแต่งเติมไปอีกได้ เมื่อเวลาผ่านไป
ผู้คนล้วนตายจากไปแต่วัฒนธรรมยังอยู่

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น