วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2565

เจโตสมาธิคืออะไร

 จากธรรมบทนี้

            รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
             อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
             [๑๘๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่
ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ เจโตสมาธิ
อันไม่มีนิมิต๑- เท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
@เชิงอรรถ :
@๑ เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต หมายถึงความตั้งมั่นแห่งจิตในวิปัสสนาที่เรียกว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีสิ่งที่เที่ยง
@เป็นนิมิต เป็นต้น (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๒/๑๑๑)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๑๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

                                                                 ๑. จูฬสุญญตสูตร

             ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะ
อาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย
ความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวาย คือ
ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’
             รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ’
             รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ’
             รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้
เท่านั้น เหตุมีชีวิตเป็นปัจจัย’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น
ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้น
             รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
             อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
             [๑๘๓] อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญา-
ยตนะ ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
             ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้ ยังถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้
แต่สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้นั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ เมื่อภิกษุ
นั้นรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
             ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย
กามาสวะ ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยภวาสวะ ในญาณนี้ไม่มี
ความกระวนกระวายเพราะอาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวาย คือ
ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๒๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

                                                                 ๑. จูฬสุญญตสูตร

             รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากกามาสวะ’
             รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากภวาสวะ’
             รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากอวิชชาสวะ’
             รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้
เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่าง
นั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้น
             รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
             อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ยอดเยี่ยมอย่างยิ่งของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
             [๑๘๔] อานนท์ ในอดีต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เข้าถึง
สุญญตา๑- อันบริสุทธิ๒- ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็ได้เข้าถึง
สุญญตาอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่
             ในอนาคต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจักเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็จักเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่
             ในปัจจุบัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่
             อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักเข้าถึงสุญญตา
อันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่”
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬสุญญตสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ :
@๑ สุญญตา หมายถึงผลสมาบัติที่เกิดจากความว่าง (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๔/๑๑๑)
@๒ บริสุทธิ หมายถึงไม่มีกิเลส (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๔/๑๑๑)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๒๑}

                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๑๕-๒๒๑.
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=21



คำตอบคือ
เจโตสมาธิคืออะไรครับ
เจโตสมาธิ หมายถึง จิตที่เป็นสมาธิ
ตามพระสูตรข้างต้น ทรงตรัสสอนให้ภิกษุที่เจริญสมาบัติ ๘ ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
หมายถึง ให้จิตเพียงสักรู้ว่าเป็น อากิญจัญญายตนะ เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่เคลื่อนไปในอากิญจัญญายตนะ ไม่เคลื่อนไปในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต๑- เท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต ซึ่ง
หมายถึง การที่จิตที่เป็นสมาธิขณะนั้น(เจโตสมาธิ) เมื่อไม่ใส่ใจในอากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว จิตที่เป็นสมาธิ(เจโตสมาธิ) นั้นก็จะว่างจากสิ่งที่ถูกรู้(นิมิต) เรียกได้ว่าเป็น เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
"ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้ ยังถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้แต่สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้นั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ เมื่อภิกษุนั้นรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
วรรคสุดท้ายนี้คือ การเกิดปัญญาวิมุตติ ในนิโรธสมาบัติ เป็น อุภโตภาควิมุตติ จิตหลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ หลุดด้วยเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น